ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 20 รายการ, 3 หน้า
ศิวลึงค์
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมศิวลึงค์

ศิวลึงค์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็นแปดเหลี่ยม บนสุดเป็นวงกลม

ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ

ทับหลังทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางสลักลายเส้นตรงที่มีส่วนปลายเป็นวงโค้งพาดผ่านกลางทับหลัง ลานเส้นตรงที่มีปลายเป็นวงโค้งนี้ตกแต่งด้วยลายวงรูปไข่ที่มีลวดลายตกแต่งอยู่ภายในและภายนอกจำนวน 5 วงเป็นองค์ประกอบหลัก ใต้ลายเส้นตรงสลักลายพวงมาลัยและอุบะ ถัดจากปลายวงโค้งทั้งสองข้างเป็นรูปสิงห์ในท่ายืน ปลายวงโค้งและสิงห์รองรับด้วยแท่นฐานสี่เหลี่ยม ตรงกลางระหว่างแท่นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งขอบล่างของทับหลังสลักตกแต่งด้วยลายกนก

ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ

ทับหลังทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางสลักลายวงโค้ง 4 วงต่อเนื่องกัน จุดบรรจบของแต่ละวงโค้งตกแต่งด้วยลายวงรูปไข่ที่ประดับภายในด้วยภาพเทพเจ้าทรงพาหนะ ใต้วงโค้งสลักลายพวงมาลัยและอุบะ ถัดจากปลายวงโค้งทั้งสองข้างเป็นรูปมกรหันหน้าเข้าสู่ด้านใน อ้าปากราวกับว่ากำลังคายท่อนวงโค้ง มีรูปบุคคลนั่งเหนือมกร และมีแท่นฐานสี่เหลี่ยมรองรับมกร

ทับหลังแบบถาลาบริวัต
จันทบุรี
ประติมากรรมทับหลังแบบถาลาบริวัต

ทับหลังมีสภาพชำรุดแตกหักออกเป็นสองชิ้น ที่ขอบด้านข้างทั้งสองแกะสลักเป็นรูปมกรหันหน้าเข้าหากันแล้วคายวงโค้งที่ประกอบด้วยวงโค้งด้านละหนึ่งวง ภายในวงโค้งนั้นเรียบไม่มีลวดลายมาประดับ ส่วนขอบวงโค้งทั้งด้านบนและล่างประดับแนวลูกประคำ ภายใต้วงโค้งเป็นลายพวงอุบะที่มีช่อกลางใหญ่ที่สุดห้อยสลับกับลายพวงมาลัยที่มีลายใบไม้สามเหลี่ยมอยู่ภายใน บริเวณที่วงโค้งแต่ละข้างมาบรรจบกัน ปรากฏรูปครุฑยุดนาคอยู่ภายในวงกลมรูปเหรียญ ครุฑนั้นมีหน้าเป็นมนุษย์ และปรากฏเฉพาะใบหน้าและลำตัวเท่านั้น

ปราสาทเขาน้อย
สระแก้ว
สถาปัตยกรรมปราสาทเขาน้อย

ผังของปราสาทเขาน้อยประกอบไปด้วยอาคาร 3 หลังตั้งอยู่ในแนวเหนือใต้ ซึ่งหลังเหนือและใต้พังทลายลงเหลือเพียงหลังกลาง ปราสาททิศเหนือและปราสาทหลังกลางตั้งอยู่บนฐานอันเดียวกัน แต่ปราสาททิศเหนือสร้างยื่นล้ำออกมาข้างนอกมาก ส่วนอาคารทิศใต้ตั้งอยู่บนฐานสูงเท่ากันแต่แยกห่างออกไปเล็กน้อย มีเพียงแนวฐานอิฐด้านหลังทำมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าการวางผังก่อสร้างอาคารทั้ง 3 หลังนี้ไม่ได้สร้างให้อยู่ในแนวเดียวกัน เป็นลักษณะที่คล้ายกับการสร้างปราสาทในสมัยก่อนเมืองพระนครของเขมรซึ่งไม่ค่อยมีระเบียบนักปราสาทด้านทิศเหนือมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก ช่องทางเข้าสร้างให้ยืดยาวออกไป ทำให้ผังของอาคารด้านนี้มีลักษณะเป็นช่องลึก ผังในห้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละด้านทำเป็นช่องเว้าเข้าไปปราสาทหลังกลางเป็นอาคารก่ออิฐไม่สอปูนในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้สิบสอง มีทางเข้าทางทิศตะวันออกทางเดียว อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก ส่วนด้านในเป็นห้องที่มีความยาวแต่ละด้านไม่เท่ากัน ส่วนทิศใต้เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนฐานอิฐ ผังอาคารก่อสร้างเป็นผนังขึ้นไป ทางเข้าทางทิศตะวันออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผังในอาคารก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน

ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังกลาง
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังกลาง

การสลักเป็นรูปมกรสองตัวที่ปลายขอบทั้งสองข้างหันหน้าเข้าภายในคายวงโค้งออกมาสี่วง เหมือมกรมีรูปบุคคลขี่เบื้องบนกับเบื้องล่างของมกรมีฐานมารองรับ บริเวณกึ่งกลางและที่เสี้ยวที่ลายวงโค้งมาบรรจบกันปรากฏลายวงรูปไข่หรือวงรูปเหรียญสามวง ที่ขอบวงโค้งทั้งสี่วงมีลายประคำประดับอยู่โดยรอบ ส่วนที่ขอบของลายวงรูปเหรียญมีทั้งลายลูกประคำและลายใบไม้ม้วนประกอบอยู่ ภายในวงรูปเหรียญมีรูปเทวดาทรงพาหนะวงละหนึ่งองค์ ในขณะที่ภายในลายวงโค้งสองวงกลางมีลายดอกไม้สี่กลีบประดับอยู่ เหนือลายวงโค้งมีลายใบไม้ตั้งขึ้น ส่วนเบื้องล่างของลายวงโค้งสลักเป็นลายพวงมาลัยสลับกับพวงอุบะ ภายในลายพวงมาลัยมีลายใบไม้แหลมหยักอยู่พวงละหนึ่งใบ ส่วนพวงอุบะล้วนมีขนาดเท่ากันหมดทุกพวง รายละเอียดที่กล่าวมานี้สามารถเปรียบเทียบได้จากทับหลังปราสาทสมโบร์ไพรกุกหมู่ใต้ หลังที่ 7

ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
สระแก้ว
สถาปัตยกรรมปราสาทสด๊อกก๊อกธม

ประกอบไปด้วยปราสาทประธานตั้งอยู่กึ่งกลางผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกทางเดียว อีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก ปราสาทประธานมีสภาพไม่สมบูรณ์ก่อด้วยศิลาทรายตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีเสานางเรียงหรือเสานางจรัลปักอยู่โดยรอบ มีบรรณาลัยสองหลังในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานตามลำดับ อาคารทั้งหมดนี้ถูกล้อมรอบด้วยระเบียงคดซึ่งมีประตูทางเข้าหรือที่เรียกว่าโคปุระทางทิศตะวันออก ส่วนระเบียงคดด้านทิศตะวันตกปรากฏห้องยาวคั่นอยู่กึ่งกลาง ส่วนพื้นที่ระหว่างระเบียงคดและกำแพงแก้วนั้นขุดคูน้ำล้อมรอบ กำแพงแก้วนั้นก่อด้วยศิลาแลง มีโคปุระหนึ่งหลังอยู่ทางทิศตะวันออกและมีฉนวนหรือทางเดินปูด้วยศิลาแลงเชื่อมต่อกันเป็นแนวตรงระหว่างโคปุระของระเบียงคดและโคปุระของกำแพงแก้ว มีเสานางเรียงปักตามแนวทั้งสองข้างทอดยาวไปจนถึงคันดินสระน้ำทางทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้ว

ทับหลังแบบถาลาบริวัต
จันทบุรี
ประติมากรรมทับหลังแบบถาลาบริวัต

ทับหลังมีสภาพชำรุดแตกหักออกเป็นสองชิ้น ชิ้นหนึ่งนั้นสาบสูญไป ส่วนชิ้นที่เหลือนั้นเริ่มจากการแกะสลักเป็นรูปมกรหันหน้าเข้าคายวงโค้ง ด้านหน้าปากมกรมีขอบเส้นตรงมารัดวงโค้ง ภายในวงโค้งนั้นเรียบไม่มีลวดลายมาประดับ ส่วนขอบวงโค้งทั้งด้านบนและล่างประดับแนวลูกประคำ ภายใต้วงโค้งเป็นลายพวงอุบะที่มีช่อกลางใหญ่ที่สุดห้อยสลับกับลายพวงมาลัยที่มีลายใบไม้สามเหลี่ยมอยู่ภายใน บริเวณที่วงโค้งแต่ละข้างมาบรรจบกัน ปรากฏรูปครุฑยุดนาคอยู่ภายในวงกลมรูปเหรียญ ครุฑนั้นมีหน้าเป็นมนุษย์ และปรากฏเฉพาะใบหน้าและลำตัวเท่านั้น