ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ปราสาทสด๊อกก๊อกธม

คำสำคัญ : พระศิวะ, ปราสาทสด๊อกก๊อกธม, บาปวน, โคปุระ

ชื่อหลักปราสาทสด๊อกก๊อกธม
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลโคกสูง
อำเภอโคกสูง
จังหวัดสระแก้ว
ภาคภาคตะวันออก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 15.024885
Long : 102.193972
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 P
Hemisphere : N
E : 198228.81
N : 1663018.95
ตำแหน่งงานศิลปะตั้งอยู่กึ่งกลางผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ประวัติการสร้าง

สร้างเพื่ออุทิศถวายพระศิวะตามที่ปรากฏในศิลาจารึกปราสาทสด๊อกก๊อกธม

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่อด้วยศิลาทรายตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง

ลักษณะทางศิลปกรรม

ประกอบไปด้วยปราสาทประธานตั้งอยู่กึ่งกลางผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกทางเดียว อีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก ปราสาทประธานมีสภาพไม่สมบูรณ์ก่อด้วยศิลาทรายตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีเสานางเรียงหรือเสานางจรัลปักอยู่โดยรอบ มีบรรณาลัยสองหลังในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานตามลำดับ

อาคารทั้งหมดนี้ถูกล้อมรอบด้วยระเบียงคดซึ่งมีประตูทางเข้าหรือที่เรียกว่าโคปุระทางทิศตะวันออก ส่วนระเบียงคดด้านทิศตะวันตกปรากฏห้องยาวคั่นอยู่กึ่งกลาง ส่วนพื้นที่ระหว่างระเบียงคดและกำแพงแก้วนั้นขุดคูน้ำล้อมรอบ กำแพงแก้วนั้นก่อด้วยศิลาแลง มีโคปุระหนึ่งหลังอยู่ทางทิศตะวันออกและมีฉนวนหรือทางเดินปูด้วยศิลาแลงเชื่อมต่อกันเป็นแนวตรงระหว่างโคปุระของระเบียงคดและโคปุระของกำแพงแก้ว มีเสานางเรียงปักตามแนวทั้งสองข้างทอดยาวไปจนถึงคันดินสระน้ำทางทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้ว
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นตัวอย่างของปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรที่สร้างขึ้นในช่วงศิลปะแบบบาปวน ทั้งยังมีจารึกเอ่ยถึงผู้สร้างซึ่งเป็นพราหมณ์ในราชสำนักของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะลพบุรี, บาปวน
อายุปลายพุทธศตวรรษที่ 16 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 17
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ลัทธิ/นิกายไศวนิกาย
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพราหมณ์ไศวนิกาย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-06-18
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ราฆพ บัณฑิตย์. ปราสาทสด๊อกก๊อกธม : ปราสาทเขมรทรงพุ่มรุ่นแรกของไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.