ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทับหลังแบบถาลาบริวัต
คำสำคัญ : ทับหลัง, ทับหลังแบบถาลาบริวัต, วัดบน, ถาลาบริวัต, วัดเขาพลอยแหวน
ชื่อหลัก | วัดบน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | หมู่ 4 บ้านห้วยระกำ |
ตำบล | พลอยแหวน |
อำเภอ | ท่าใหม่ |
จังหวัด | จันทบุรี |
ภาค | ภาคตะวันออก |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 12.607069 Long : 102.039211 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 P Hemisphere : N E : 178315.71 N : 1395521.4 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ตั้งอยู่ภายในวัดเขาพลอยแหวน |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ทับหลังมีสภาพชำรุดแตกหักออกเป็นสองชิ้น ที่ขอบด้านข้างทั้งสองแกะสลักเป็นรูปมกรหันหน้าเข้าหากันแล้วคายวงโค้งที่ประกอบด้วยวงโค้งด้านละหนึ่งวง ภายในวงโค้งนั้นเรียบไม่มีลวดลายมาประดับ ส่วนขอบวงโค้งทั้งด้านบนและล่างประดับแนวลูกประคำ ภายใต้วงโค้งเป็นลายพวงอุบะที่มีช่อกลางใหญ่ที่สุดห้อยสลับกับลายพวงมาลัยที่มีลายใบไม้สามเหลี่ยมอยู่ภายใน บริเวณที่วงโค้งแต่ละข้างมาบรรจบกัน ปรากฏรูปครุฑยุดนาคอยู่ภายในวงกลมรูปเหรียญ ครุฑนั้นมีหน้าเป็นมนุษย์ และปรากฏเฉพาะใบหน้าและลำตัวเท่านั้น |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ทับหลัง (หรือหน้าบัน) ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างของทับหลังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย สะท้อนให้เห็นว่าภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมรมาแล้วตั้งแต่แรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, ถาลาบริวัต |
อายุ | ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พราหมณ์-ฮินดู |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. ทับหลังแบบถาลาบริวัต พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ 3. ทับหลังแบบถาลาบริวัต วัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-17 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สมิทธิ ศิริภัทร์ และมยุรี วีระประเสริฐ. ทับหลัง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. "ทับหลังแบบถาลาบริวัตในประเทศไทย" โบราณคดี. ปีที่ 4 เล่มที่ 1 (กรกฎาคม 2515), หน้า 11 - 17. |