ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิวลึงค์

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, ศิวลึงค์

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลหน้าเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดปราจีนบุรี
ภาคภาคตะวันออก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.047306
Long : 101.37467
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 756401
N : 155423.89
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หินทรายแกะสลัก

ประวัติการอนุรักษ์

พบจากอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ลักษณะทางศิลปกรรม

ศิวลึงค์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็นแปดเหลี่ยม บนสุดเป็นวงกลม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ศิวลึงค์องค์นี้สภาพสมบูรณ์ เป็นศิวลึงค์ในศิลปะเขมรในประเทศไทยที่สำคัญตัวอย่างหนึ่ง

ข้อสังเกตอื่นๆ

- ตามปกติส่วนสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมจะอยู่ภายใต้ฐานโยนี เหลือพ้นจากฐานโยนีเพียงวงกลมเท่านั้น

- องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนของศิวลึงค์อันได้แก่ สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม และวงกลม มีความหมายแทนถึงเทพเจ้าตรีมูรติในศาสนาพราหมณ์ สี่เหลี่ยมเรียกว่าพรหมภาคแทนพระพระพรหมผู้สร้าง แปดเหลี่ยมเรียกว่าวิษณุภาคแทนพระวิษณุผู้รักษา และวงกลมเรียกว่ารุทรภาคแทนพระศิวะผู้ทำลาย

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะลพบุรี, เขมรในประเทศไทย
อายุพุทธศตวรรษที่ 14-18
ศาสนาพราหมณ์

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ประติมากรรมขอม. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2515.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2533.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทาลัยศิลปากร, 2547.