ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ, 1 หน้า
ศิวลึงค์
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมศิวลึงค์

ศิวลึงค์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็นแปดเหลี่ยม บนสุดเป็นวงกลม

พระพรหม
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพรหม

ประติมากรรมพระพรหมอยู่ในอิริยาบถยืนบนฐานหน้ากระดาน พระชงฆ์ซ้ายและพระกรขวาล่างชำรุดสูญหายพระพักตร์ทั้งสี่มีรูปแบบเหมือนกัน กล่าวคือ รูปพระพักตร์เหลี่ยม คิ้ว 2 ข้างเกือบเป็นเส้นตรงและคมเป็นสัน พระเนตรเบิกโพรง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะ มีพระมัสสุอยู่เหนือพระโอษฐ์ พระฑาฐิกะสลักนูนเห็นเด่นชัดโดยสลักยาวต่อเนื่องจากพระกรรเจียก (ขมับ) พระฑาฐิกะบริเวณพระหนุ (คาง) เป็นมุมแหลม พระกรรเจียกเป็นมุมแหลม รูปแบบของพระพักตร์และองค์ประกอบต่างๆ ที่กล่าวมานี้เทียบได้กับประติมากรรมศิลปะเขมรแบบบาแค็ง กระบังหน้าขนาดใหญ่ไม่ประดับตกแต่งลวดลาย มวยพระเกศาทรงกระบอกไม่ประดับตกแต่งเช่นกัน พระวรกายช่วงบนเปล่าเปลือย มีสี่กร พระวรกายช่วงล่างนุ่งสมพตสั้น ชายผ้าพาดยาวอยู่ตรงกลาง มีเข็มขัดผ้ารัดที่บริเวณพระโสณี ปลายเข็มขัดผ้าห้อยตกลงมาเหนือพระอูรุ (หน้าขา) ผ้านุ่งเช่นนี้เทียบได้กับศิลปะเขมรแบบาแค็ง เพียงแต่ว่าพระพรหมองค์นี้ไม่มีเส้นริ้วตามแนวตั้งประดับผ้านุ่ง ซึ่งการประดับเส้นริ้วนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในศิลปะเขมรแบบบาแค็ง

ปรางค์แขก
ลพบุรี
สถาปัตยกรรมปรางค์แขก

ปรางค์แขกเป็นปราสาทอิฐ 3 หลังวางเรียงกันตามแนวเหนือใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังกลางมีความสูงและใหญ่กว่าอีก 2 หลัง จากการขุดตรวจโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง ได้พบว่าปราสาททั้งสามหลังตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกันปราสาททั้ง 3 หลังมีรูปแบบทำนองเดียวกัน คือ แผนผังเพิ่มมุม ทางด้านตะวันออกเป็นประตูสู่ครรภคฤหะ ผนังด้านเหนือ ใต้ และตะวันตก เป็นประตูหลอก เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาชั้นซ้อนลดหลั่นกัน ปูนฉาบหลุดล่วงออกไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทางด้านหน้าหรือทิศตะวันออกของปราสาทหลังกลางมีวิหารก่ออิฐผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำซุ้มประตูทรงโค้งแหลมหรือ Pointed Arch ทางด้านใต้ของวิหารมีอาคารที่เชื่อว่าเป็นถังเก็บน้ำตั้งอยู่

กลุ่มปราสาทประธานปราสาทเมืองต่ำ
บุรีรัมย์
สถาปัตยกรรมกลุ่มปราสาทประธานปราสาทเมืองต่ำ

กลุ่มปราสาทประธานของปราสาทเมืองต่ำประกอบด้วยปรางค์ 5 หลัง จัดวางเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 หลัง แถวหลัง 2 หลังในตำแหน่งสับหว่างกับแถวหน้า ปรางค์ทั้ง 5 หลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานไพทีศิลาแลงเดียวกัน ปรางค์หลังกลางของแถวหน้าเป็นประธานของกลุ่ม สภาพพังทลายลงแล้ว แต่จากส่วนฐานที่เหลืออยู่เห็นได้ว่ามีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 หลังอย่างชัดเจน ปรางค์อีก 4 หลังขนาดเท่าๆกัน ฐานเป็นศิลาแลง เรือนธาตุและยอดซ้อนชั้นก่ออิฐฉาบปูน ทุกหลังมีประตูทางเข้าสู่ครรภคฤหะเพียงด้านตะวันออกด้านเดียว ภายในครรภคฤหะเหลือแต่เพียงฐานประดิษฐานรูปเคารพ จึงไม่อาจทราบได้ว่าแต่ละหลังเคยประดิษฐานเทพเจ้าองค์ใด