ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปราสาทเขาน้อย
คำสำคัญ : ปราสาทเขาน้อย, สมโบร์ไพรกุก, ปราสาทเขาน้อยสีชมพู
ชื่อเรียกอื่น | ปราสาทเขาน้อยสีชมพู |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดเขาน้อย |
ชื่ออื่น | วัดเขาน้อยสีชมพู |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | คลองน้ำใส |
อำเภอ | อรัญประเทศ |
จังหวัด | สระแก้ว |
ภาค | ภาคตะวันออก |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.584203 Long : 102.527227 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 P Hemisphere : N E : 232415 N : 1503076 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ตั้งอยู่บนยอดเขาน้อย อยู่ในเขตวัดเขาน้อย |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างทีแน่ชัด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยเมืองพระนคร |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐไม่สอปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ผังของปราสาทเขาน้อยประกอบไปด้วยอาคาร 3 หลังตั้งอยู่ในแนวเหนือใต้ ซึ่งหลังเหนือและใต้พังทลายลงเหลือเพียงหลังกลาง ปราสาททิศเหนือและปราสาทหลังกลางตั้งอยู่บนฐานอันเดียวกัน แต่ปราสาททิศเหนือสร้างยื่นล้ำออกมาข้างนอกมาก ส่วนอาคารทิศใต้ตั้งอยู่บนฐานสูงเท่ากันแต่แยกห่างออกไปเล็กน้อย มีเพียงแนวฐานอิฐด้านหลังทำมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าการวางผังก่อสร้างอาคารทั้ง 3 หลังนี้ไม่ได้สร้างให้อยู่ในแนวเดียวกัน เป็นลักษณะที่คล้ายกับการสร้างปราสาทในสมัยก่อนเมืองพระนครของเขมรซึ่งไม่ค่อยมีระเบียบนัก ปราสาทด้านทิศเหนือมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก ช่องทางเข้าสร้างให้ยืดยาวออกไป ทำให้ผังของอาคารด้านนี้มีลักษณะเป็นช่องลึก ผังในห้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละด้านทำเป็นช่องเว้าเข้าไป ปราสาทหลังกลางเป็นอาคารก่ออิฐไม่สอปูนในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้สิบสอง มีทางเข้าทางทิศตะวันออกทางเดียว อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก ส่วนด้านในเป็นห้องที่มีความยาวแต่ละด้านไม่เท่ากัน ส่วนทิศใต้เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนฐานอิฐ ผังอาคารก่อสร้างเป็นผนังขึ้นไป ทางเข้าทางทิศตะวันออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผังในอาคารก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ปราสาทแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ค้นพบทับหลังสมัยก่อนเมืองพระนครแบบสมโบร์ไพรกุกและไพรกเมงรวมกันถึง 5 ชิ้น นับว่าเป็นสถานที่ที่พบทับหลังก่อนเมืองพระนครมากที่สุด เมื่อประมวลร่วมกับหลักฐานอื่นๆ ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าภาคตะวันออกของไทยมีความสัมพันธ์กับกัมพูชามาแต่แรกเริ่มสมัยก่อนเมืองพระนคร |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, สมโบร์ไพรกุก |
อายุ | ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 12 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พราหมณ์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-16 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | วิสันธนี โพธิสุนทร. ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533. |