ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, ศิลปะล้านนา
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ในเมือง |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | ลำพูน |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.577354 Long : 99.006789 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 500716.3 N : 2054063.66 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ |
ประวัติการสร้าง | ไม่มีประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะแรก |
ข้อสังเกตอื่นๆ | 1. จากรูปแบบแล้วพระพุทธรูปองค์นี้ควรจะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แต่กลับประทับนั่งขัดสมาธิราบ แต่เนื่องจากท่านั่งทั้งสองปรากฏร่วมกันมานานแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพระพุทธรูปองค์นี้ยังมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับศิลปะปาละของอินเดียซึ่งได้รับผ่านมาทางพุกามของพม่าอีกต่อหนึ่ง สัมพันธ์กับตำนานว่าพญามังรายยกทัพไปตีพุกามและนำช่างต่างๆมาไว้ในพุกาม 2. มีผู้เสนอว่าพระพุทธรูปองค์นี้ควรมีอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 เพราะลักษณะแถบผ้าคล้ายริบบิ้นที่ทอดลงมาที่พระอูระซ้ายมีลักษณะที่พัฒนาไปแล้ว โดยเทียบกับพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน แต่จากรูปแบบแล้วน่าจะมีอายุที่เก่าขึ้นไปกว่านั้น อีกทั้งพระพุทธรูปในพุทธศตวรรษที่ 21 จะมีลักษณะคือ อุษณีษะสูงและนิยมประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยม ดังนั้นพระพุทธรูปองค์นี้จึงน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 มากกว่า |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 19 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมบัติส่วนบุคคลของพันเอกเพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะแรกอีกองค์หนึ่งซึ่งมีลักษณะโดยภาพรวมเหมือนกันแต่ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ทว่ายังไม่ค่อยลงตัวนัก 2. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์และมีลักษณะที่พัฒนาขึ้นไปกว่าพระพุทธรูปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เช่น การประทับนั่งขัดสมาธิเพชรที่ทำได้ลงตัวแล้ว |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-16 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย-ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2555. พระยาประชากิจกรจักร. พงศาวดารโยนก. พิมพ์ครั้งที่ 5. พระนคร: คลังวิทยา, 2507. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์, ม.ล. พระพุทธรูปล้านนากับคติพระพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ นิกาวัชรยาน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558. |