ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูป

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, แผ่นเงินดุนนูน

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดลำพูน
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 18.577131
Long : 99.006698
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 500706.69
N : 2054038.98
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่จากรูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 อันเป็นระยะที่ศิลปะหริภุญชัยเจริญรุ่งเรืองและมีความเป็นเอกลักษณ์สูง

กระบวนการสร้าง/ผลิต

แผ่นเงินดุนนูน

ลักษณะทางศิลปกรรม

แผ่นเงินดุนนูนพระพุทธรูปกลุ่มนี้ล้วนอยู่ไหนสภาพชำรุดมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป บ้างเหลือแต่พระเศียร บ้างเหลือแต่พระวรกาย มีทั้งพระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปนั่ง รูปแบบโดยรวมแสดงให้เห็นถึงความเป็นศิลปะหริภุญชัย ขณะเดียวกันก็แสดงความเกี่ยวข้องกับศิลปะพม่าสมัยพุกามด้วย เช่น การทำพระพุทธรูปสวมมงกุฏทรงเทริดขนนก การนั่งขัดสมาธิเพชร

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่ทำจากแผ่นเงินดุนนูนอันมีรูปแบบทางศิลปกรรมเป็นเอกลักษณ์ของหริภุญชัย ทั้งยังมีประเด็นเชื่อมโยงเข้ากับศิลปะพม่าสมัยพุกามด้วย

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะหริภุญชัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 17-18
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย – ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2555.

สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.