ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 89 ถึง 96 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
วัดพระเมรุ
นครปฐม
สถาปัตยกรรมวัดพระเมรุ

สภาปัจจุบันปรักหักพังเหลือแต่ฐานที่ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว ไม่ทราบว่าส่วนยอดมีลักษณะเช่นใด แผนผังของวัดพระเมรุเป็นอาคารสี่เหลี่ยมที่มีการยกเก็จกลางด้านและมุม แต่ละเก็จมีบันไดทางขึ้น ตรงกลางเหลือเพียงแกนอิฐสี่เหลี่ยมที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนยอด ด้านทั้งสี่ของแกนอิฐเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทด้านละ 1 องค์ มีทางเดินเวียนประทักษิณโดยรอบแกนอิฐและพระพุทธรูปเหล่านี้

สระแก้ว
ปราจีนบุรี
สถาปัตยกรรมสระแก้ว

สระแก้วเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมที่มีแนวต่อยื่นทางด้านตะวันตกเพื่อทำบันไดลาดเอียงเป็นทางลง เป็นสระที่ขุดลงไปในพื้นหินศิลาแลง ผนังส่วนใดที่ไม่เป็นระเบียบจะก่อก้อนศิลาแลงวางให้เป็นระเบียบ ผนังทั้งสี่ด้านมีภาพสัตว์มงคลต่างๆ ประดับอยู่ เช่น มกร ช้าง นาค สิงห์ ตรงกลางของผนังด้านเหนือมีรูปคชลักษมีและแนวคั่นบันไดลงสู่สระ สันนิษฐานว่น่าจะเป็นจุดสำคัญในการประกอบพิธีกรรม

หอนางอุสา
อุดรธานี
สถาปัตยกรรมหอนางอุสา

โขดหินรูปร่างประหลาดที่เรียกกันในปัจจุบันว่า หอนางอุสา มีลักษณะเป็นแท่งเสาหินธรรมชาติที่มีหินก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่งวางทับอยู่ด้านบน กลายเป็นเพิงสำหรับพักอาศัยหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ มีการกั้นผนังด้วยก้อนหิน ทำให้เพิงหินมีสภาพกลายเป็นห้องรูปลักษณ์ของหอนางอุสาเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ในอดีตกาลหลายล้านปีมาแล้วชั้นหินบริเวณนี้ยังอ่อนอยู่ทำให้เกิดการกัดเซาะหรือชะด้วยน้ำและลม ส่วนใดที่อ่อนตัวมากก็ถูกกัดเซาะหรือชะจนหายไป ส่วนใดที่แข็งแรงทนทานก็จะยังคงตัวอยู่ได้ จากรูปร่างของหอนางอุสาอธิบายได้ว่า แท่งเสาหินและก้อนหินที่ค้างอยู่ด้านบนเป็นชั้นหินที่แข็งแรงทนทานต่อการกัดเซาะ ชั้นหินที่เคยอยู่ตรงกลางระหว่างหินทั้งสองส่วนอ่อนตัวกว่าจึงง่ายต่อการกัดเซาะ ในที่สุดจึงถูกกัดเซาะหายไป ทำให้หินชั้นบนกลายเป็นก้อนหินใหญ่ที่วางตั้งอยู่ในหินชั้นล่างที่กลายสภาพเป็นแท่งเสา รอบๆ หอนางอุสาเป็นลานหินขนาดใหญ่ มีหลักหิน-ใบเสมาปักบนลานหินเพื่อล้อมรอบหอนางอุสา

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เป็นอาคารแบบสมมาตร (Symmetrical) 3 ชั้น รูปตัวยู (U) ในรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic Art) ซึ่งมีความโดดเด่นในแง่ของการได้รับอิทธิพลศิลปะแบบคลาสสิกของกรีกหรือโรมันโบราณ เหนือชั้น 3 ส่วนหน้าของอาคารแนวเดียวกับหลังคามีการประดับยอดโดมเพื่อเสริมความโดดเด่นในการมองเห็นระยะไกล

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง มีรายละเอียดดังนี้ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความดังนี้ที่รฦกถึงความรักแห่งสมเดจพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรตน์พระบรมราชเทวี อรรคมเหษีอันเสดจทิวงคตแล้วซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความศุขสบายแลเปนที่เบิกบานใจพร้อมด้วยผู้ซึ่งเปนที่รัก แลที่สนิทอย่างยิ่งของเธออนุสาวรี นี้สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราชผู้เปนสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิตรถึงกระนั้นยังมิได้หักหายจุลศักราช ๑๒๔๓ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความเป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกันกับด้านทิศตะวันออกผนังด้านทิศใต้ สลักเป็นตัวอักษร "ส" ภายใต้พระมงกุฎ หมายถึงอักษรพระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีผนังด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ราชานุสรณ์

เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นแท่นรูปทรงสี่เหลี่ยม แต่ละด้านแกะลวดลายเป็นคูหาสำหรับประดิษฐานพระรูปหินอ่อนแกะสลักเจ้านายที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วทั้ง 4 พระองค์ เหนือขึ้นไปเป็นแท่งเสาทรงสี่เหลี่ยมสอบขึ้นไปจนถึงยอด

ชื่อหลัก	พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมชื่อหลัก พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์

พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทจตุรมุขโถงจำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง มุขด้านทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นมุขสั้นหลังคาลดสองชั้น ด้านหน้าและด้านใต้หลังคาลดสี่ชั้น เครื่องยอดทรงปราสาทประดับด้วยครุฑยุดนาคที่มุมทั้ง 4 หน้าบันทั้ง 4 ด้านประดับตราอาร์มหรือตราแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเสารับย่อมุมไม้สิบสอง มีชานประกอบกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน ด้านตะวันตกมีอัฒจันทร์ลงสู่สระ คานล่างก่อเสาคอนกรีตรับพื้นองค์พระที่นั่งทรงสามเหลี่ยม

เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมเรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์

เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์นี้ เป็นอาคารทรงปราสาทโถง 9 ยอด มีรูปช้างเอราวัณรองรับส่วนยอดปราสาท เสา 48 ต้นเอียงเข้าสู่ศูนย์กลางยอดหน้าบันด้านกลางทิศเหนือประดิษฐานพระปรมาภิไธย “อปร.” หน้าบันด้านทิศตะวันออกเหนือประดิษฐานพระนามาภิไธย “กว.”หน้าบันด้านทิศตะวันตกเหนือประดิษฐานพระนามาภิไธย “สธ.” หน้าบันด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระนามาภิไธย “มวก.” หน้าบันกลางด้านทิศใต้ประดิษฐานพระปรมาภิไธย “ภปร.” หน้าบันด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ประดิษฐานพระนามาภิไธย “มอ.” หน้าบันด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ประดิษฐานพระนามาภิไธย “สว.” หน้าบันด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระนามาภิไธย “สก.” ใต้หน้าบันฉลุเพดานด้านในปรากฏพระนามาภิไธยที่ส่วนกลาง “จภ.” เพดานด้านซ้ายและด้านขวา “อร.” พื้นเป็นหินอ่อนมีลูกกรงโดยรอบ ฐานเรือนยอดชั้นบนประดับรูปเทพพนม มีโคมไฟรูปพุ่มข้าวบิณฑ์โดยรอบ บันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน ทางขึ้นด้านทิศเหนือและทิศใต้มีสระน้ำครึ่งวงกลม มีรูปปั้นม้าอยู่กลางสระ มุมทั้ง 4 มีสระ 4 แห่งมีรูปช้าง ม้า วัว สิงห์ มีช้างสำริด จำนวน 10 ช้างอยู่โดยรอบอาคาร