ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำสำคัญ : ผ่านฟ้าลีลาศ, พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 7, อาคารกรมโยธาธิการเดิม

ชื่อเรียกอื่นพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 7, อาคารกรมโยธาธิการเดิม
ชื่อหลักพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่ออื่นผ่านฟ้าลีลาศ
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลวัดโสมนัส
อำเภอเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.756101
Long : 100.506518
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 662876.93
N : 1521261.83
ตำแหน่งงานศิลปะแยกผ่านฟ้าลีลาศ

ประวัติการสร้าง

พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารหลังนี้เพื่อเป็นสำนักงานของห้างยอน แซมป์สัน แอนด์ ซัน เปิดดำเนินการธุรกิจจำหน่ายเครื่องแต่งกายแบบตะวันตก ลงนามทำสัญญาเช่ากับกรมพระคลังข้างที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 จนกระทั่ง พ.ศ.2469 ได้เปลี่ยนสิทธิการเช่ามาเป็นห้างสุธาดิลก จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์สมัยใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 กรมโยธาเทศบาลได้เช่าอาคารหลังนี้เป็นสำนักงาน จนกระทั่ง พ.ศ. 2545 เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน

กระบวนการสร้าง/ผลิต

-

ประวัติการอนุรักษ์

-

ขนาด-
ลักษณะทางศิลปกรรม

เป็นอาคารแบบสมมาตร (Symmetrical) 3 ชั้น รูปตัวยู (U) ในรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic Art) ซึ่งมีความโดดเด่นในแง่ของการได้รับอิทธิพลศิลปะแบบคลาสสิกของกรีกหรือโรมันโบราณ เหนือชั้น 3 ส่วนหน้าของอาคารแนวเดียวกับหลังคามีการประดับยอดโดมเพื่อเสริมความโดดเด่นในการมองเห็นระยะไกล

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แรกเริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นห้างสรรพสินค้าที่ดำเนินการโดยชาวยุโรปแห่งแรกๆ ของสยาม และเป็นตัวอย่างสำนักงานห้างร้านต่างประเทศในประเทศไทยช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic Art) ซึ่งเป็นที่นิยมในขณะนั้น

ข้อสังเกตอื่นๆ

-

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง-
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

-

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. การประปานครหลวง สี่แยกแม้นศรี

2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

3. กระทรวงกลาโหม

4. กระทรวงมหาดไทย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2017-08-05
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, นิรินธน์ ภู่คำ
บรรณานุกรม

บัณฑิต จุลาสัย. อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2545.

พระปกเกล้า, สถาบัน. จดหมายเหตุพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2545.