ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

สระแก้ว

คำสำคัญ : สระแก้ว, ศรีมโหสถ

ชื่อหลักเมืองศรีมโหสถ
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลโคกปีบ
อำเภอศรีมหาโพธิ
จังหวัดปราจีนบุรี
ภาคภาคตะวันออก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.88938
Long : 101.412415
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 760605.23
N : 1536842.35
ตำแหน่งงานศิลปะนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

ลักษณะทางศิลปกรรม

สระแก้วเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมที่มีแนวต่อยื่นทางด้านตะวันตกเพื่อทำบันไดลาดเอียงเป็นทางลง เป็นสระที่ขุดลงไปในพื้นหินศิลาแลง ผนังส่วนใดที่ไม่เป็นระเบียบจะก่อก้อนศิลาแลงวางให้เป็นระเบียบ ผนังทั้งสี่ด้านมีภาพสัตว์มงคลต่างๆ ประดับอยู่ เช่น มกร ช้าง นาค สิงห์ ตรงกลางของผนังด้านเหนือมีรูปคชลักษมีและแนวคั่นบันไดลงสู่สระ สันนิษฐานว่น่าจะเป็นจุดสำคัญในการประกอบพิธีกรรม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

สระแก้วเป็นสระน้ำโบราณที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ น่าจะนำน้ำมาใช้ประกอบพิธีกรรมความเชื่อของชุมชน

ข้อสังเกตอื่นๆ

มกรบางตัวมีลักษณะคล้ายที่พบในศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ซึ่งมีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 6-9 ทำให้บางท่านกำหนดอายุสมัยการสร้างสระแก้วว่าเก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ 10

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องศาสนาพราหมณ์

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ. โบราณคดีเมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ : สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2548.

พีรพน พิสณุพงศ์. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2535.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.