Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

679

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
พระกรรติเกยะประทับบนนกยูง
ดานัง
ประติมากรรมพระกรรติเกยะประทับบนนกยูง

พระกรรติเกยะ ทรงเป็นโอรสของพระศิวะ ด้วยเหตุนี้จึงแสดงความเป็น “พระกุมาร” หรือเป็นเด็กเสมอ นอกจากนี้ยังทรงนกยูงเป็นพาหนะและถือวัชระอันเป็นอาวุธของพระอินทร์มาก่อน

หน้าบันรูปพระวิษณุ
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปพระวิษณุ

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีสี่พระกร ถือจักร สังข์ คทาและธรณี ทรงกิรีฏมกุฏหรือหมวกทรงกระบอกอันแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์ของพระองค์ อาจเป็นไปได้ที่หน้าบันย่อมแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระวิษณุ ซึ่งพบน้อนกว่าปราสาทที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะมาก

หน้าบันรูปครุฑและนาค
โฮจิมินห์
ประติมากรรมหน้าบันรูปครุฑและนาค

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีพาหนะที่สำคัญคือครุฑและนาค ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าบันทั้งสองตัว ครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุในคราวเสด็จไปในที่ต่างๆ ส่วนนาคเป็นบัลลังก์บรรทมของพระองค์บนเกษียรสมุทร

สิงห์ยกขาจากปราสาทจาเกียว
ประติมากรรมสิงห์ยกขาจากปราสาทจาเกียว

ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทจาเกียวทั้งหมด มักอยู่ในทาทางเคลื่อนไหวอันถือเป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมรูปสัตว์ในระยะนี้ รูปสิงห์เองก็มีท่าทางยกขาขึ้นและเอี้ยวตัวเคลื่อนไหวอย่างมาก อนึ่ง สิงห์ซึ่งมีเขาแพะนั้นเรียกว่า “วยาล” ในศิลปะอินเดีย

เศียรบุคคลสวมมงกุฎแหลม
โฮจิมินห์
ประติมากรรมเศียรบุคคลสวมมงกุฎแหลม

เศียรบุคคลนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยมิเซิน A1 ได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมงกุฎมีลักษณะสำคัญคือประดับด้วยตาบจำนวนมาก ตาบดังกล่าวเป็นตาบที่ “คั่นกลาง” กระบังหน้า ตามมีลักษณะเป็นตาบสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนขึ้นไปหลายชั้น อนึ่งตาบแบบนี้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะชวาซึ่งเข้ามามีบทบาทมากในระยะนี้

ส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล
โฮจิมินห์
ประติมากรรมส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล

ส่วนประดับมุมรูบบุคคลนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยมิเซิน A1 ได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมงกุฎมีลักษณะสำคัญคือประดับด้วยตาบจำนวนมาก ตาบดังกล่าวเป็นตาบที่ “คั่นกลาง” กระบังหน้า ตามมีลักษณะเป็นตาบสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนขึ้นไปหลายชั้น อนึ่งตาบแบบนี้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะชวาซึ่งเข้ามามีบทบาทมากในระยะนี้ อนึ่ง ปราสาทในศิลปะมิเซิน A1-บิญดิ่นมักประดับมุมปราสาทด้วย “ส่วนประดับมุม” เสมอ โดยหลายครั้งที่อยู่ในรูปของบุคคลประนมมือไหว้

พระศิวะ
ประติมากรรมพระศิวะ

ประติมากรรมบุคลสมัยบิญดิ่น เริ่มมีการจัดระเบียบมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้า คือ ตาบทุกตาบของพระเศียรขึ้นไปอยู่เหนือกระบังหน้าทั้งหมด ลักษณะสำคัญของประติมากรรมสมัยบิญดิ่นและสมัยหลัง คือประทับนั่งพิงแผ่นหลัง โดยพระหัตถ์จำนวนมากติดไปกับแผ่นหลัง ส่วนผ้านั่งเองกักชักชายผ้าวงโค้งหรือชายผ้าสามเหลี่ยมตกลงมาด้านหน้า

หน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร
ญาจาง
ประติมากรรมหน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปของพระภควตี ภาคหนึ่งของพระอุมา เป็นเทพีประจำอาณาจักรจามปาภาคใต้ โดยมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ว่า มีการสถาปนาปราสาทถวายแด่เทวรูปพระภควตีมาตั้งแต่สมัยหัวล่าย ต่อมาถูกองทัพขอมข้าทำลายในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้มีการสร้างปราสาทหลังใหม่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น ซึ่งก็คือปราสาทหลังปัจจุบัน