ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ฐานสลักหิน ประกอบไปด้วยบันไดทางขึ้นและตัวฐาน โดยบันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น ส่วนตัวฐานเองก็ได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ซุ้มซึ่งได้รับอิทธิพลจากกูฑุของอินเดียเป็นต้น
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
บันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น การประดับสิงห์คายราวบันไดและลวดลายประจำยามก้ามปูนั้น ทำให้นึกไปถึงลวดลายเดียวกันที่ถ้ำอชันตาและในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ซึ่งมีอายุอยู่ในระยะร่วมสมัยกันหรือก่อนหน้าเล็กน้อย แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาณาจักรจามปากับอินเดียและลังกา
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
พระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองปะปนกับอิทธิพลจากศิลปะจีนและอินเดีย ประการแรกคือท่านั่งห้อยพระบาทที่ใช้พระหัตถ์ทั้งสองวางอู่บนพระชานุนั้นแสดงถึงอิทธิพลจีน แต่จีวรที่ห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นๆอยู่ที่พระอังสาซ้ายนั้นกลับเป็นลักษณะประจำในศิลปะปาละของอินเดีย อย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้กลับแสดงความเป็นพื้นเมืองอย่างมากมาย เช่น พระโอษฐ์ที่หนา พระขนงต่อเป็นปีกกาและพระเนตรโปน เป็นต้น
ประติมากรรมหน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู
ประติมากรรมพระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและพระเกศาขมวดเป็นปอยตามแบบพื้นเมือง น่าสังเกตว่าด้านบนสุดปรากฏอุษณีษะซึ่งได้กลายเป็นรูปดอกบัวอันแสดงให้เห็นความเป็นพื้นเมืองอย่างมาก
ประติมากรรมฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง
ฐานขนาดใหญ่นี้เป็นหนึ่งในฐานชุกชีจำนวน 2 ฐานสำหรับพระพุทธรูปประธานของปราสาทดงเดือง โดยฐานหนึ่งนำมาจากพระวิหารด้านหน้าและอีกฐานหนึ่งนำมาจากปราสาทประธาน ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ดานัง ฐานชุกชีแห่งนี้ประดับด้วยภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติขนาดเล็กอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังประดับไปด้วยลายกนกขนมจีนและซุ้มแบบดงเดือง