ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
คำสำคัญ : พระวิษณุ, มิเซิน, วิษณุอนันตศายิน
ชื่อหลัก | ปราสาทมิเซิน E |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | Danang Museum of Cham Sculpture |
จังหวัด/เมือง | ดานัง |
รัฐ/แขวง | ดานัง |
ประเทศ | เวียดนาม |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 16.059722 Long : 108.223056 |
ประวัติการสร้าง | ปราสาทมิเซิน กลุ่ม E เป็นปราสาทมิเซินกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มปราสาทมิเซินทั้งหมด โดยอาจตรงกับระยะแรกของการสถาปนาพระภัทเรศวรขั้นเป็นศิวลึงค์ประจำราชอาณาจักรจามมรพุทธศตวรรษที่ 12-13 |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | มิเซิน E1 |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | วิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ เป็นเรื่องราวตอนพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรบนขนดนาคของอนันตนาคราชซึ่งเป็นนาคแห่งกาลเวลา ภายหลังจากการทำลายโลก จากนั้น ได้เกิดพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี พระพรหมนี้เองได้สร้างโลกขึ้น |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | กลางหน้าบันดังกล่านี้เป็นภาพเล่าเรื่องตอนดังกล่าว อันประกอบด้วยพระวิษณุบรรทมบนขนดนาคของอนันตนาคราช พระหัตถ์จับก้านบัวที่ผุดขึ้นมาจากพระนาภี ด้านบนปรากฏพระพรหมสี่พักตร์ซึ่งอยู่บนยอดด้านบนสุดของหน้าบันด้วย ที่ด้านข้างทั้งสองปรากฏครุฑยุดนาคซึ่งเป็นพาหนะและมีความเกี่ยวข้องกับพระวิษณุอยู่แล้ว |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-06-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |