ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ฐานสลักหิน ประกอบไปด้วยบันไดทางขึ้นและตัวฐาน โดยบันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น ส่วนตัวฐานเองก็ได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ซุ้มซึ่งได้รับอิทธิพลจากกูฑุของอินเดียเป็นต้น
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
บันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น การประดับสิงห์คายราวบันไดและลวดลายประจำยามก้ามปูนั้น ทำให้นึกไปถึงลวดลายเดียวกันที่ถ้ำอชันตาและในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ซึ่งมีอายุอยู่ในระยะร่วมสมัยกันหรือก่อนหน้าเล็กน้อย แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาณาจักรจามปากับอินเดียและลังกา
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน F
ปราสาทมิเซิน F เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่มิเซิน ลวดลายที่ประดับปราสาทมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิละขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13
สถาปัตยกรรมรายละเอียดฐานปราสาทมิเซิน F
ฐานของปราสาทมิเซิน F มีลวดลายที่คล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก อันได้แก่ลายบุคคลเหาะในช่อง และภาพลูกกรงหรือเวทิกา ซึ่งทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13
ประติมากรรมหน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู
ประติมากรรมประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ
ดูเหมือนประติมากรรมบุคคลนี้จะมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะจาม เนื่องจากมีมงกุฎใกล้เคียงกับศิลปะคุปตะของอินเดียอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับมงกุฎที่มีตาบกลมจำนวนสามตาบและการทรง “ศิรัศจักร” หรือผ้ารูปกลมจับจีบที่แผ่ด้านหลังพระเศียร