ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 8 รายการ, 1 หน้า
ปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นปราสาทในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยมิเซิน A1 และบิญดิ่น ดังจะเห็นได้จากเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ยังคงมีร่องเสาอยู่ตามแบบมิเซิน A1 แต่ไม่มีลวดลายแล้ว ส่วนซุ้มกลับเป็นใบหอกตามแบบบิญดิ่น

ที่ตั้งของปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่กำลังออกสู่ทะเล ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญทางภูมิศาสตร์ (Landmark) นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับคติที่เชื่อว่าพระเทวีทรงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำและทะเล ซึ่งมีความแบนเหมือนโยนีอีกด้วย

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทหัวล่าย

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย เป็นซุ้มรูปพิณฝรั่งคว่ำ ครอบคลุมด้วยลายขนมจีนจนเต็ม มีลายขมวดเข้าพร้อมขมวดออก ไม่มีรูปสัตว์ใดๆ แทรกอยู่ในซุ้ม ทั้งหมดนี้แสดง “ความเป็นพื้นเมือง” ของซุ้มในสมัยหัวล่ายที่แตกต่างไปจากกูฑุแบบอินเดียในศิลปะมิเซิน E1 แล้ว

บรรณาลัย (?) ของปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมบรรณาลัย (?) ของปราสาทโพกลวงการาย

บรรณาลัยของปราสาทโพกลางการาย เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาเป็นทรงประทุน หรือทรงศาลา ในศัพท์สถาปัตยกรรมอินเดีย อนึ่ง บรรณาลัยปรากฏมาแล้วตั้งแต่ปราสาทมิเซิน โดยอยู่ในผังและมีหลังคาทรงนี้เสมอ รวมถึงตั้งอยู่ทางด้านข้างของปราสาทประธานเสมอๆ เนื่องจากบรรณาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในกลุ่มปราสาทซึ่งกำหนดอายุอยู่ในสมัยหลัง ด้วยเหตุนี้ บรรณาลัยดังกล่าวจึงควรมีอายุอยู่ในระยะเดียวกัน ส่วนปราสาทจำลองทรงถะจีนที่มุมนั้นอาจแสดงถึงการสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ปราสาทโพโรเม
ญาจาง
สถาปัตยกรรมปราสาทโพโรเม

ปราสาทหลังนี้ เป็นปราสาทในระยะสุดท้ายของศิลปะจาม รายละเอียดต่างๆได้ถูกลดทอนจนหมดสิ้น ดังปรากฏเสาติดผนังเพียงสองต้น และมีซุ้มจระนำรูปใบหอก ด้านบนประดับปราสาทจำลองทรงพุ่มเช่นเดียวกับปราสาทโพกลวงการาย

พระวิษณุทรงครุฑ
ญาจาง
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑ

พระวิษณุทรงครุฑองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยปรากฏกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา แต่ตาบเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ตามแบบดงเดือง พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้มีพระโอษฐ์หนา พระเนตรโปนและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมือง ครุฑที่มีจะงอยปากนกและสวมมงกุฎสามตาบก็เป็นลักษณะดงเดืองเช่นกัน

หน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร
ญาจาง
ประติมากรรมหน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปของพระภควตี ภาคหนึ่งของพระอุมา เป็นเทพีประจำอาณาจักรจามปาภาคใต้ โดยมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ว่า มีการสถาปนาปราสาทถวายแด่เทวรูปพระภควตีมาตั้งแต่สมัยหัวล่าย ต่อมาถูกองทัพขอมข้าทำลายในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้มีการสร้างปราสาทหลังใหม่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น ซึ่งก็คือปราสาทหลังปัจจุบัน

มุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
ประติมากรรมมุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย

พระเศียรของพระศิวะที่มุขลึงค์ประธานของปราสาทโพกลวงการาย มีลักษณะสำคัญตามแบบศิลปะในสมัยหลังโดยทั่วไป กล่าวคือ พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนาม และสวมมงกุฎเป็นทรงกระบอกซึ่งถือเป็นมงกุฎหนึ่งในสองแบบที่นิยมในศิลปะสมัยหลัง มงกุฎอีกแบบหนึ่งที่นิยมในระยะนี้ก็คือแบบกระบังหน้า