Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นอาคารแบบสมมาตร (Symmetrical) 3 ชั้น รูปตัวยู (U) ในรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic Art) ซึ่งมีความโดดเด่นในแง่ของการได้รับอิทธิพลศิลปะแบบคลาสสิกของกรีกหรือโรมันโบราณ เหนือชั้น 3 ส่วนหน้าของอาคารแนวเดียวกับหลังคามีการประดับยอดโดมเพื่อเสริมความโดดเด่นในการมองเห็นระยะไกล
จิตรกรรมอวมงคล
เป็นผลงานจิตรกรรมไทยประเพณีร่วมสมัยของเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์การศึกษาจิตรกรรมไทยประเพณีโบราณผสมผสานกับการศึกษาวิถีชีวิตและสังคมไทยในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง มีรายละเอียดดังนี้ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความดังนี้ที่รฦกถึงความรักแห่งสมเดจพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรตน์พระบรมราชเทวี อรรคมเหษีอันเสดจทิวงคตแล้วซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความศุขสบายแลเปนที่เบิกบานใจพร้อมด้วยผู้ซึ่งเปนที่รัก แลที่สนิทอย่างยิ่งของเธออนุสาวรี นี้สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราชผู้เปนสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิตรถึงกระนั้นยังมิได้หักหายจุลศักราช ๑๒๔๓ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความเป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกันกับด้านทิศตะวันออกผนังด้านทิศใต้ สลักเป็นตัวอักษร "ส" ภายใต้พระมงกุฎ หมายถึงอักษรพระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีผนังด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ราชานุสรณ์
เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นแท่นรูปทรงสี่เหลี่ยม แต่ละด้านแกะลวดลายเป็นคูหาสำหรับประดิษฐานพระรูปหินอ่อนแกะสลักเจ้านายที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วทั้ง 4 พระองค์ เหนือขึ้นไปเป็นแท่งเสาทรงสี่เหลี่ยมสอบขึ้นไปจนถึงยอด
ประติมากรรมพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระกรรณยาว มีอุษณีษะ รัศมีคล้ายดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง ไม่มีริ้ว ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ถอดแบบจากพระพุทธนวราชบพิตร
ประติมากรรมพระบรมรูป 4 รัชกาล
พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 - 3 มีขนาดเท่าพระองค์จริง หล่อด้วยสำริดเคลือบทองในพระราชอิริยาบถยืนตรง ทรงพระภูษาจีน มีสายรัดพระองค์และมีหัวพระปั้นเหน่งทับ ไม่ทรงฉลองพระองค์ ทรงพระแสงดาบคาบค่าย พระแสงดาบเวียต และพระแสงดาบญี่ปุ่นตามลำดับ จะเห็นได้ว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ทรงใช้วิธีการผสมผสานรูปลักษณ์ตามคติไทยลงไปในรูปเหมือนตามคติตะวันตก คือเน้นความเหมือนจริงของพระพักตร์ แต่พระวรกายในพระราชอิริยาบถยืนนั้นยังคงความเกลี้ยงเกลากลมกลืนดูสงบนิ่งแต่แฝงความศักดิ์สิทธิ์น่าเลื่อมใสศรัทธาตามแบบพระพุทธรูป ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 นั้นเดิมหลวงเทพรจนา (พลับ) เป็นผู้ปั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ แก้ไขและเพิ่มรายละเอียด เช่น รอยย่นบนพระพักตร์ รอยยับของพระภูษาโจง และลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทำให้ดูเหมือนจริงกว่าพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 - 3
ประติมากรรมขลุ่ยทิพย์
ศิลปินได้รับความบันดาลใจทางด้านรูปแบบจากพระพุทธรูปลีลา ศิลปะสุโขทัย ก่อเกิดเป็นประติมากรรมที่ผสมผสานจังหวะลีลาและเส้นสายของศิลปะไทยกับความเรียบง่ายของรูปทรงแบบสากลอย่างงดงาม จนได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม ในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492
ประติมากรรมรำมะนา
ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของความเป็นไทยจากพระพุทธรูปไทยที่มีสัดส่วนงดงามผนวกกับความคิดส่วนตัวโดยนำการจัดวางโครงสร้างและองค์ประกอบแบบสมัยใหม่มาผสมผสาน และสนใจสร้างงานประติมากรรมโดยการแกะสลักด้วยวัสดุไม้และงาช้าง ดังที่ศิลปินได้แสดงทัศนะไว้ว่า “รำมะนา…เวลาตีเสียงมันก้องกลมกังวาน สนุก จึงสร้างเส้นรอบนอกให้ประสานกันเป็นวงโค้งมีหน้ากลองวงกลมเป็นตัวขัดอยู่ตรงกลาง”