Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

682

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
พระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย

พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตรย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

จิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู

ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ท่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย น่าสังเกตว่ากินนรกินนรีที่นี่สวมมงกุฎที่ประดับด้วยตามสามเหลี่ยมอันแสดงแรงบันดาลใจจากศิลปะปาละอย่างชัดเจน

มัสยิดอับดุลกัฟฟูร์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดอับดุลกัฟฟูร์

เป็นมัสยิดที่ได้รับอิทธิดลตะวันตกอย่างมากมาย ทั้งในแง่ของเสาแบบโรมัน อาร์คที่ต่อเนื่องกันตามระบบ loggia ลวดลายที่ขื่อและการใช้โดมแบบตะวันตก โดยมีแผงด้านหน้าตกแต่งแบบศิลปะบารอก ในขณะเดียวกันเอง องค์ประกอบเล็กน้อย เช่นหอคอยปลอมขนาดเล็ก กลับถูกนำมาใช้ตกแต่งแทนที่ถ้วยรางวัลในศิลปะบารอก หอคอยขนาดเล็กเหล่านี้เป็นสิ่งเดียวที่แสดงออกถึงความเป็นอิสลามในมัสยิดแห่งนี้

โดมของมัสยิดอับดุลกัฟฟูร์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมโดมของมัสยิดอับดุลกัฟฟูร์

เป็นมัสยิดที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกอย่างมากมาย ทั้งในแง่ของเสาแบบโรมัน อาร์คที่ต่อเนื่องกันตามระบบ loggia ลวดลายที่ขื่อและการใช้โดมแบบตะวันตก โดมที่นี่มีลักษณะตามแบบคลาสิกในศิลปะตะวันตกอย่างมาก การรองรับโดมกลางเป็นอาร์คโค้งรองรับตามระบบ Pendentive ถัดขึ้นไปมีขื่อ รองรับคอโดมที่มีหน้าต่างโดยรอบสลับกับเสาไอโอนิก ด้านบนสุดเป็นโดมที่มี rib ต่อเนื่องจากเสาโดมข้นไปถึงบนยอด ทั้งหมดนี้เป็นระบบโดมแบบคลาสิกซึ่งแตกต่างไปจากโดมแบบอิสลามอย่างชัดเจน

มัสยิดจามา
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดจามา

ประตูทางเข้าของมัสยิดจามามีหอคอยปลอมจำนวนสองหอขนาบทางเข้า หอคอยนี้มีองค์ประกอบคือ เป็นหอคอยสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไปหลายชั้นตามแบบหอคอยที่นากอร์ดารกาห์ (Nagore Dargah) อันเป็นสุสานของ Sufi Saint องค์สำคัญในรัฐทมิฬนาฑุ อินเดียใต้ หอคอยแบบนี้ยังปรากฏที่สุสานนากอร์ดารกาห์จำลองในสิงคโปร์และที่ปีนังอีกด้วย

นากอร์ดารกาห์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมนากอร์ดารกาห์

นากอร์ดารดาห์เป็นสุสานจำลอง ไม่ได้เป็นมัสยิด ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของแผ่นผังจึงมีลักษณะเป็นห้องสุสานมากกว่าที่จะเป็นโถงสำหรับการทำละหมาด ที่มุมทั้งสี่ปรากฏหอคอยซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ โดยเป็นหอคอยปลอม หอคอยดังกล่าวนี้เป็นการจำลองหอคอยที่นกาอร์ดารกาห์ในรัฐทมิฬนาฑุของอินเดียใต้ โดยต่อมาได้กลายเป็นนิยมสำหรับหอคอยหลายแห่งในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์

อาคารศาลฎีกาเก่า
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมอาคารศาลฎีกาเก่า

อาคารศาลฎีกาเก่า สร้างข้นในแผนผังแบบพัลลาเดียนเช่นเดียวกับอาคารสถานที่ราชการแห่งอื่นๆในสิงคโปร์ คือ เป็นอาคารในผังรูปตัว E มีมุขด้านหน้าและมีการชักปีกออกมาสองข้าง ตรงกลางเป็นมุขซึ่งมี Pediment สามเหล่ยมแบบกรีก-โรมัน รองรับด้วยเสาโครินเธียนจำนวนหนึ่ง ด้านบนสุดมีโดม ซึ่งมีคอโดมประดับด้วยเสาสลับกับซุ้มหน้าต่าง ด้านบนสุดของโดมมีหอ Lantern องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นิยมใช้กับสถานที่ราชการในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ทั้งในอินเดีย มาเลเซียและสิงคโปร์

มุขด้านหน้าของอาคารศาลฎีกาเก่า
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมุขด้านหน้าของอาคารศาลฎีกาเก่า

อาคารศาลฎีกาเก่า สร้างข้นในแผนผังแบบพัลลาเดียนเช่นเดียวกับอาคารสถานที่ราชการแห่งอื่นๆในสิงคโปร์ คือ เป็นอาคารในผังรูปตัว E มีมุขด้านหน้าและมีการชักปีกออกมาสองข้าง ตรงกลางเป็นมุขซึ่งมี Pediment สามเหล่ยมแบบกรีก-โรมัน รองรับด้วยเสาโครินเธียนจำนวนหนึ่ง ด้านบนสุดมีโดม ซึ่งมีคอโดมประดับด้วยเสาสลับกับซุ้มหน้าต่าง ด้านบนสุดของโดมมีหอ Lantern องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นิยมใช้กับสถานที่ราชการในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ทั้งในอินเดีย มาเลเซียและสิงคโปร์