Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

682

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

สรัสวดีในรูปของนัต
พุกาม
ประติมากรรมสรัสวดีในรูปของนัต

เทวีสรัสวดี เทพีแห่งความรู้ในศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นเทพีผู้ปกป้องความรู้ทางพุทธศาสนาเถรวาทในพม่า แสดงให้เห็นกระบวนการดูดกลืนศาสนาฮินดูเข้าสู่ศาสนาพุทธซึ่งเป้นกระบวนการปกติในแถบเอเชียอาคเนย์

จันทิอรชุน
โวโนโซโบ
สถาปัตยกรรมจันทิอรชุน

จันทิมีลักษณะคล้ายคลึงกับวิมานในศิลปะอินเดียใต้อย่างมาก กล่าวคือ เป็นจันทิในผังครรภคฤหะ มีมุขสั้นๆยื่นออกมาทางด้านหน้า เรือนธาตุประดับด้วยเสาติดผนังสี่ต้นแบ่งผนังออกเป็นสามส่วน (เก็จประธานและเก็จมุม) ชั้นหลังคามีเรือนธาตุจำลอง (ตละ) ซ้อนชั้นขึ้นไป ที่มุมประดับด้วยอาคารจำลอง (หาระ) การท่เส้นรอนอกของยอดมีลักษณะป้นขั้นบันไดนั้นคล้ายคลึงกับวิมานในศิลปะอินเดียใต้อย่างมาก

ภาพเล่าเรื่องตามคัณฑวยุหสูตร
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตามคัณฑวยุหสูตร

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย ตำนาน/เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

ภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย

ปราสาทประธาน: ปราสาทนครวัด
อังกอร์
ประติมากรรมปราสาทประธาน: ปราสาทนครวัด

ปราสาทประธานของปราสาทนครวัด มีลักษณะตามแบบพุทธศตวรรษที่ 17 กล่าวคือ สร้างด้วยหินทั้งหลังมีประตูทางออกสี่ทิศและมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ ซึ่งในที่นี่ต่อเชื่อกับระเบียงรูปกากบาท เรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุม ด้านบนเป็นยอดวิมานที่ประดับไปด้วยกลีบขนุนทำให้ปราสาทมียอดเป็นทรงพุ่ม อนึ่ง ปราสาทซึ่งใช้กลีบขนุนประดับยอดนี้ปรากฏในปราสาทอื่นๆในระยะร่วมสมัยด้วย เช่น ปราสาทบันทายสำเหร่และปราสาทพิมาย