ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมวัดกุโสดอ
วัดกุโสดอ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวซิกองเมืองพุกาม แวดล้อมไปด้วยเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็กซึ่งประดิษฐานแผ่นจารึกพระไตรปิฎก เจดีย์เหล่านี้มีการแบ่งกลุ่มตามหมวดของพระไตรปิฎกตั้งแต่พระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรม
สถาปัตยกรรมพระราชวังมัณฑเลย์
พระราชวังสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลัก คือ มเยนานปยาทาด ปราสาทหลักอันเป็นที่ตั้งของราชบัลลังก์ เป็นที่เสด็จออกว่าราชการและทำพระราชพิธี ถัดมาด้านหลังได้แก่พื้นที่ที่ประทับส่วนพระองค์ เช่น พอพระบรรทมเป็นต้น ส่วนด้านหลังเป็นที่อยู่ของพระสนม อนึ่ง อาคารทรงปยาทาดและอาคารทรงสองคอสามชาย ถือเป็นลักษณะสำคัญของอาคารเครื่องไม้ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลที่แสดงถึงอาคารฐานันดรสูง
สถาปัตยกรรมวัดชเวนันดอจอ
ตำหนักไม้หลังนี้ ประกอบด้วยอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแบ่งออกเป็นสองห้อง ห้องด้านหน้าคงใช้สำหรับเสด็จออก ส่วนห้องด้านหลังคงเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ผนังด้านนอกอาคารมีการประดับด้วยฝาปะกนและประติมากรรมบุคคลขนาดเล็ก ส่วนชั้นหลังคาประดับด้วยปานซอยไม้ที่มีประติมากรรมบุคคลขนาดเล็กประดับอยู่จนเต็ม อาคารเดิมคงปิดทองทั้งหลัง จึงมีชื่อว่า “ชเวนันดอ” ซึ่งแปลว่าพระที่นั่งทอง อนึ่ง อาคารทรงสองคอสามชาย ถือเป็นลักษณะสำคัญของอาคารเครื่องไม้ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลที่แสดงถึงอาคารฐานันดรสูง
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์เอ็นดอยา
พระพุทธรูปประทับนั่งสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มเฉียงเสมอตามแบบพระนั่งพุกามซึ่งแตกต่างไปจากพระยืนที่นิยมห่มคลุม จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย ที่พระอังสาซ้ายปรากฏชายจีวรตกลงมายาวจนถึงพระนาภี ที่ปลายจีวรมีการเล่นลวดลายอย่างมาก เช่นการสลักผ้าให้ทบไปมาจนดูผิดธรรมชาติ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยตามแบบพระนั่งในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระมหามัยมุนี
พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง
ประติมากรรมช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมสิงห์ที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมลวดลายประดับประตูที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ในภาพนี้เป็นภาพของกรอบประตูซึ่งได้มีการนำเอาลายใบอะแคนธัสมาใช้แทนลายกรอบหน้าบน รวมถึงเคล็กและครีบที่ประดับรอบประตู ส่วนผนังของอาคารออกแบบเป็นฝาปะกนที่ประดับด้วยบุคคลขนาดเล็ก ปิดทองซึ่งทำให้อาคารหลังนี้มีชื่อว่า ชเวนันดอ หรือพระที่นั่งทอง