ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระมหามัยมุนี

คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, พระเจ้าปดุง, อมรปุระ, การอภิเษกพระพุทธเจ้า, พระมหามัยมุนี, วัดพระมหามัยมุนี, ธัญญวดี

ชื่อหลักวัดพระมหามัยมุนี
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองมัณฑเลย์
รัฐ/แขวงมัณฑเลย์
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.164722
Long : 94.881111

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เดิมเป็นพระพุทธรูปประทับอาณาจักรยะไข่ ประดิษฐานอยู่ที่เมืองธัญญวดีอันเป็นเมืองหลวงเก่าของยะไข่ ต่อมาพระเจ้าปดุงเมื่อตีอาณาจักรยะไข่ได้ จึงโปรดให้ชักลากพระมหามัยมุนีมาที่เมืองอมรปุระของพระองค์ การชักลากคราวนั้นต้องถอดพระออกเป็นชิ้นๆ และชักลากผ่านภูเขามา ยังความเสียหายให้แก่พระพุทธรูปเป็นอันมาก จึงโปรดให้มีการซ้อมปิดทองใหม่และถวายเครื่องทรงใหม่แก่พระพุทธรูป
ลักษณะทางศิลปกรรมพระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะยะไข่
อายุพุทธศตวรรษที่ 21-22
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระมหามัยมุนีเป็นพระพุทธรูปที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทานลมหายใจให้ ทำให้พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับความนับถือว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ การปรนนิบัติแก่พระพุทธรูปองค์นี้จึงเหมือนประหนึ่งพระพุทธองค์ที่ยังทรงพระชนม์อยู่ ด้วยเหตุนี้ประเพณีการปลุกพระบรรทมและถวายน้ำล้างหน้ารวมถึงการถวายอาหารจึงได้รับการปฏิบัติทุกวันตอนเช้าจนมาถึงทุกวันนี้

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี