ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี
คำสำคัญ : บายน, ประติมากรรมรูปสัตว์, วัดพระมหามัยมุนี, ช้างเอราวัณ
ชื่อหลัก | วัดพระมหามัยมุนี |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | มัณฑเลย์ |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.951667 Long : 96.078333 |
ประวัติการสร้าง | ที่เมืองพระนครได้เคยปรากฏประติมากรรมสำริดกลุ่มหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวคนเล็กน้อย มีทั้งประติมากรรมรูปช้างเอราวัณ รูปสิงห์และรูปบุคคล (ทวารบาล) ประติมากรรมเล่าหนี้ต่อมาถูกเจ้าสามพระยา กษัตริย์อยุธยาผู้ทำลายเมืองพระนครได้เชิญไปไว้ที่อยุธยา ต่อมาประติมากรรมสำริดนี้ก็ถูกขนไปที่หงสาวดีภายหลังที่อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นแก่แห่งสาวดี และในที่สุดเมื่อเมืองหงสาวดีเสียให้กับยะไข่ จึงถูกขนไปที่ยะไข่และถวายให้กับพระมหามัยมุนี ประติมากรรมกลุ่มนี้ถูกขนย้ายอีกครั้งหนึ่งมาที่เมืองอมรปุระเมื่อพระมหามัยมุนีถูกเคลื่อนย้ายมาที่อมรปุระด้วย |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |