Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

679

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
เศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ประติมากรรมเศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระเศียรของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ทรงชฎามงกุฎตามแบบนักบวช มีกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา พระพักตร์มีความเป็นอินเดีย-ชวาสูง คือพระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง ไม่มีพระมัสสุ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาอย่างมากในระยะนี้

พระวิษณุทรงครุฑ
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑ

พระวิษณุทรงครุฑองค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาปะปนกับศิลปะพื้นเมืองหัวล่าย โดยกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา แต่พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนา พระเนตรโปนและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมือง ครุฑที่มีจะงอยปากนกและมีปีกเป็นกนกเองก็เป็นลักษณะพื้นเมืองเช่นกัน

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร

พระโพธิสัตว์องค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาอย่างมากในระยะนี้ กล่าวคือทรงกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา นุ่งผ้าโธตียาวที่มีผ้าคาดวงโค้งกว้างตามแบบศิลปะอินเดียใต้-ชวาภาคกลาง อยย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนาและพระเนตรโปนตามแบบพื้นเมืองแล้วยัชโญปวีตในระยะนี้ก็หายไปซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะชวา

ครอบมุขลึงค์
ประติมากรรมครอบมุขลึงค์

มุขลึงค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมืองพระพักตร์แบบพื้นเมืองนี้แตกต่างอย่างมากไปจากพระพักตร์แบบอินเดียชวา-ซึ่งปรากฏมาก่อนในศิลปะมิเซิน E1 และจะปรากฏอีกในศิลปะมิเซิน A1 บางครั้ง ศิวลึงค์ที่ทำด้วยวัสดุปกติก็อาจถูกครีอบด้วย “ครอบโลหะมีค่า” ซึ่งทำให้ศิวลึงค์นั้นๆดูศักดิ์สิทธิ์ขึ้น ครองโลหะนั้นอาจหล่อด้ยทอดแดง เงินหรือทองคำก็ได้

พระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและพระเกศาขมวดเป็นปอยตามแบบพื้นเมือง น่าสังเกตว่าด้านบนสุดปรากฏอุษณีษะซึ่งได้กลายเป็นรูปดอกบัวอันแสดงให้เห็นความเป็นพื้นเมืองอย่างมาก

ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง

ฐานขนาดใหญ่นี้เป็นหนึ่งในฐานชุกชีจำนวน 2 ฐานสำหรับพระพุทธรูปประธานของปราสาทดงเดือง โดยฐานหนึ่งนำมาจากพระวิหารด้านหน้าและอีกฐานหนึ่งนำมาจากปราสาทประธาน ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ดานัง ฐานชุกชีแห่งนี้ประดับด้วยภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติขนาดเล็กอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังประดับไปด้วยลายกนกขนมจีนและซุ้มแบบดงเดือง

ภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง

ฐานขนาดใหญ่นี้เป็นหนึ่งในฐานชุกชีจำนวน 2 ฐานสำหรับพระพุทธรูปประธานของปราสาทดงเดือง โดยฐานหนึ่งนำมาจากพระวิหารด้านหน้าและอีกฐานหนึ่งนำมาจากปราสาทประธาน ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ดานัง ฐานชุกชีแห่งนี้ประดับด้วยภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติขนาดเล็กอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังประดับไปด้วยลายกนกขนมจีนและซุ้มแบบดงเดือง

ภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง

ฐานขนาดใหญ่นี้เป็นหนึ่งในฐานชุกชีจำนวน 2 ฐานสำหรับพระพุทธรูปประธานของปราสาทดงเดือง โดยฐานหนึ่งนำมาจากพระวิหารด้านหน้าและอีกฐานหนึ่งนำมาจากปราสาทประธาน ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ดานัง ฐานชุกชีแห่งนี้ประดับด้วยภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติขนาดเล็กอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังประดับไปด้วยลายกนกขนมจีนและซุ้มแบบดงเดือง