Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

678

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
รายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E

บันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น การประดับสิงห์คายราวบันไดและลวดลายประจำยามก้ามปูนั้น ทำให้นึกไปถึงลวดลายเดียวกันที่ถ้ำอชันตาและในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ซึ่งมีอายุอยู่ในระยะร่วมสมัยกันหรือก่อนหน้าเล็กน้อย แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาณาจักรจามปากับอินเดียและลังกา

รายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E

ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน

รายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E

ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน

พระหริหระ
ประติมากรรมพระหริหระ

เป็นประติมากรรมลอยตัว ปรากฏการทำชฎามงกุฎที่ด้านซีกขวา และกีรีฏมงกุฎที่ด้านซ้าย แสดงถึงความเป็นพระศิวะและพระวิษณุ ด้านบนขวามีชิ้นส่วนของตรีศูลซึ่งเป็นอาวุธของพระศิวะ ด้านบนซ้ายปรากฏพระกรถือจักรซึ่งเป็นอาวุธของพระวิษณุ ประติมากรรมทรงนุ่งผ้านุ่งแบบโทตียาว ตามอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ด้านซ้ายของผ้าปรากฏหัวเสืออันเป็นผ้านุ่งของพระศิวะ

พระพุทธรูป
ประติมากรรมพระพุทธรูป

พระพุทธรูปประทับยืน ทำอภัยมุทรา อุษณีษะเป็นมวยผม ขมวดพระเกษาวนเป็นก้นหอยไม่มีอุณาโลม พระเนตรเหลือบต่ำ ครองจีวรห่มคลุม ผ้าบางแบบเปียกน้ำ แนบพระวรกาย ไม่มีริ้วจีวร ตามรูปแบบศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ สกุลช่างสารนาถ พระกรขวายกขึ้นทำวิตรรกะมุทรา กรซ้ายหักหายไป สันนิษฐานว่าจับชายจีวรลงตามแบบศิลปะคุปตะ ประทับยืนแบบสมภังค์(ยืนตรง)

ทับหลัง
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังแบบศิลปะสมโบร์ไพรกุก จะมีปรากฏการทำมกรหันหน้าเข้าคายตัววยาล และคายวงโค้งสี่วงที่ปลายทับหลังทั้งสองข้าง ตัวมกรยืนอยู่บนแท่นและมีบุคคลขี่อยู่ ตรงกลางทับหลังปรากฏการทำเหรียญสามวงคั่นระหว่างวงโค้ง ภายในเหรียญปรากฏการทำประติมากรรมบุคคลกลางเหรียญ ด้านบนวงโค้งปรากฏลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างวงโค้งทำลายพวงมาลัย พวงอุบะ

ภาพสลักรูปปราสาท บนผนังที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก
กัมปง ธม
ประติมากรรมภาพสลักรูปปราสาท บนผนังที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก

เป็นปราสาทที่สร้างจากอิฐ อยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีเสาติดผนังที่มุมของเรือนธาตุ มีทางเข้าทางเดียว อีกทั้งสามทางเป็นประตูหลอก หลังคาทำเป็นเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานของอินเดียใต้ ปราสาทตั้งอยู่บนพื้นราบ ไม่มีการทำฐานซ้อนชั้น

ทับหลัง
กัมปง ธม
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในภาพ เป็นรูปแบบของทับหลังในศิลปะไพรกเมงที่จะคลี่คลายไปสู่แบบศิลปะกำพงพระ โดยมีการทำเส้นวงโค้งเป็นเส้นตรงเพียงเส้นเดียว กลางทับหลัง และปรากฏเหรียญอยู่กลางเส้นวงโค้ง ตามรูปแบบของศิลปะไพรกเมง แต่อย่างไรก็ตามตัวเหรียญได้ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของลายใบไม้ซึ่งเหมือนกับปลายของทับหลังทั้งสองด้านปรากฏเป็นลายใบไม้ขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาลายใบไม้ดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในศิลปะกำพงพระ