ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมตุ๊กตารูปคนจูงลิง
ตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็ก ศีรษะและเท้าชำรุดหักหาย ลักษณะเป็นประติมากรรมเพศชาย เปลือยเปล่า ประดับสร้อยคอ สายคาดเอว และกำไลข้อมือ มือขวาถือโซ่ล่างลิงซึ่งนั่งอยู่ระหว่างขาสองข้าง มือซ้ายถือพวงผลไม้
ประติมากรรมพระสงฆ์อุ้มบาตร
ประติมากรรมนูนต่ำนี้เป็นดินเผา เดิมทีใช้สำหรับประดับเจดีย์ชำรุดเสียหายมาก สังเกตเห็นได้ว่าทำเป็นรูปพระสงฆ์ 3 รูป ยืนเรียงกัน แต่ละรูปครองจีวรห่มคลุม ถือบาตรไว้ในระดับหน้าท้อง
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่อง
พระพุทธรูปยืนตรง พระหัตถ์ยกขึ้นและหันฝ่าพระหัตถ์ออก เรียกว่า ปางประทานอภัย หรือเรียกอีกอย่างว่าปางห้ามสมุทร ครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระวรกาย แลเห็นแถบรัดประคด (รัดเอว) และชายสบงที่ทำเป็นแถบหน้านางตกลงมาระหว่างกลางพระชงฆ์พระพักตร์ค่อนข้างกลมตามแบบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนกลาง สวมกุณฑลทรงตุ้ม สวมมงกุฏที่ประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้าทรงกรวย รูปทรงกระบังหน้าสืบทอดมาจากกระบังหน้าของเทวรูปศิลปะสุโขทัยอันมีต้นแบบมาจากศิลปะเขมร ส่วนรัดเกล้ากรวยทำเหมือนวงแหวนซ้อนชั้น ปรากฏมาก่อนในศิลปะสุโขทัยเช่นกัน โดยรับมาจากศิลปะลังกาอีกทอดหนึ่ง มียอดแหลมขนาดเล็กรอบรัดเกล้ากรวยคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องโยงกับเรื่องราวที่ปรากฏในชมพูบดีสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าแสดงพระองค์เป็นพระจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่กว่าท้าวมหาชมพูเพื่อคลายทิฏฐิมานะ จนท้าวมหาชมพูเลื่อมใสแล้วออกบวชปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
ประติมากรรมพระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
พระพุทธรูปลีลาเหนือฐานดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายแสดงปางวิตรรกมุทรา พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม คล้ายใบหน้าบุคคลจริง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย มีอุษณีษะรองรับรัศมีเปลว พระกรรณยาว ครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้วอย่างธรรมชาติ มีสังฆาฏิพาดพระอังสา ชายจีวรละจากพระพุทธบัลลังก์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างสมจริง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
ภาพเขียนสีฝุ่น ใช้เทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกโดยคำนึงถึงหลักทัศนียวิทยา ทำให้ภาพมีมิติและระยะใกล้-ไกล ใช้ภาพพระมหาปราสาทและอาคารต่างๆในพระบรมมหาราชวังเป็นฉากหลังในการเล่าเรื่อง ภาพอาคารบ้านเรือน ภาพการแต่งกายของบุคคลไม่ว่าจะเป็นขุนนาง ทหาร และชาวบ้าน เป็นไปตามสมัยนิยมในขณะนั้น
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง มีรายละเอียดดังนี้ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความดังนี้ที่รฦกถึงความรักแห่งสมเดจพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรตน์พระบรมราชเทวี อรรคมเหษีอันเสดจทิวงคตแล้วซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความศุขสบายแลเปนที่เบิกบานใจพร้อมด้วยผู้ซึ่งเปนที่รัก แลที่สนิทอย่างยิ่งของเธออนุสาวรี นี้สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราชผู้เปนสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิตรถึงกระนั้นยังมิได้หักหายจุลศักราช ๑๒๔๓ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความเป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกันกับด้านทิศตะวันออกผนังด้านทิศใต้ สลักเป็นตัวอักษร "ส" ภายใต้พระมงกุฎ หมายถึงอักษรพระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีผนังด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
สถาปัตยกรรมวัดปรมัยยิกาวาส
วัดปรมัยยิกาวาสมีพระอุโบสถเป็นประธาน หน้าบันประดับตราพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 5 รูปพระจุลมงกุฎ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานและพระสาวก จิตรกรรมฝาผนังภายในเขียนเรื่องธุดงควัตรและพุทธประวัติภายหลังการตรัสรู้ ฝีมือของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ด้านหลังพระอุโบสถคือพระมหารามัญเจดีย์ ภายในวัดยังมีวิหารพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปหินอ่อนและพระนนทมุนินท์ พระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี เพดานตกแต่งด้วย ศาลารับเสด็จ และพระเจดีย์มุเตา เจดีย์ในศิลปะมอญสีขาวริมน้ำ
สถาปัตยกรรมมณฑปวัดตระพังทองหลาง
มณฑปวัดตระพังทองหลางตั้งอยู่กึ่งกลางวัด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาไม่เหลือร่องรอยแล้ว เชื่อว่าเพราะทำจากเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง เมื่อเวลาผ่านไปจึงปรักหักพังลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน มีทางเข้าอยู่ทางด้านตะวันออก ส่วนด้านเหนือ ตะวันตก และใต้ มีจระนำประดับภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ ด้านเหนือเป็นตอนโปรดช้างนาฬาคีรี ด้านตะวันตกเป็นตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี และด้านใต้เป็นตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหน้าของมณฑปมีวิหารสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหลือแต่ฐานและแนวเสา เข้าใจว่าคงเป็นวิหารโถง หลังคาคงเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องได้หักพังลงหมดแล้ว