ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
คำสำคัญ : จิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน, วัดเสื่อ, วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อหลัก | วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดเสื่อ |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | หัวรอ |
อำเภอ | พระนครศรีอยุธยา |
จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 14.363494 Long : 100.57364 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 669687.78 N : 1588506.07 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ผนังภายในพระอุโบสถ |
ประวัติการสร้าง | วัดเสนาสนารามหรือวัดเสื่อเป็นวัดเก่าสมัยอยุธยา ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2406 เนื่องจากเป็นวัดที่เคยเสด็จไปเมื่อครั้งทรงผนวชและเป็นหนึ่งในวัดที่ทรงปฏิสังขรณ์เพื่อทำผาติกรรมในการปฏิสังขรณ์พระนารายราชนิเวศน์ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ภาพเขียนสีฝุ่น |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ภาพเขียนสีฝุ่น ใช้เทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกโดยคำนึงถึงหลักทัศนียวิทยา ทำให้ภาพมีมิติและระยะใกล้-ไกล ใช้ภาพพระมหาปราสาทและอาคารต่างๆในพระบรมมหาราชวังเป็นฉากหลังในการเล่าเรื่อง ภาพอาคารบ้านเรือน ภาพการแต่งกายของบุคคลไม่ว่าจะเป็นขุนนาง ทหาร และชาวบ้าน เป็นไปตามสมัยนิยมในขณะนั้น |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ภายในพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา มีจิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนที่มีองค์ประกอบภาพและเนื้อหาที่คล้ายกันกับจิตรกรรมเรื่องเดียวกันที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม สันนิษฐานว่าทั้ง 2 แห่งคงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้แรงบันดาลใจจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และน่าจะเริ่มเขียนที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามก่อน แล้วจึงเขียนที่วัดเสนาสนารามในภายหลัง โดยทั้งสองแห่งมีภาพพระบรมมหาราชวังและบริเวณใกล้เคียงเป็นฉากหลังเช่นเดียวกัน ฉากหนึ่งที่มีความสำคัญแม้จะไม่ได้อยู่ในบทพระราชนิพนธ์ แต่พบฉากเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกันทั้ง 2 วัด คือฉากเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ เกยหน้าพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ ใกล้หมู่พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง แม้ว่าเหตุการณ์จริงจะเกิดขึ้นที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าภาพรัชกาลที่ 4 ที่วัดเสนาสนารามมีลักษณะเป็นภาพเหมือนบุคคลที่ชัดเจนกว่าที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งพบตัวอย่างการเขียนภาพเหมือนของรัชกาลที่ 4 ที่คล้ายกันนี้ในงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ทศพร ทองคำ. “จิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือน วัดเสนาสนาราม ต. หัวรอ อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา” (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556). |