ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ตุ๊กตารูปคนจูงลิง

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง , ตุ๊กตารูปคนจูงลิง, ตุ๊กตาเสียกบาล, ตุ๊กตาดินเผา

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลอู่ทอง
อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 14.373126
Long : 99.891406
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 596139.84
N : 1589166.81
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ดินเผาที่ทำขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์แบบประกบขึ้นรูป

ลักษณะทางศิลปกรรม

ตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็ก ศีรษะและเท้าชำรุดหักหาย ลักษณะเป็นประติมากรรมเพศชาย เปลือยเปล่า ประดับสร้อยคอ สายคาดเอว และกำไลข้อมือ มือขวาถือโซ่ล่างลิงซึ่งนั่งอยู่ระหว่างขาสองข้าง มือซ้ายถือพวงผลไม้

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตุ๊กตารูปคนจูงลิงถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมทวารวดี สะท้อนถึงคติความเชื่อท้องถิ่นพื้นเมือง ค้นพบจำนวนมากตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของไทย

ข้อสังเกตอื่นๆ

บางท่านเห็นว่าน่าจะทำขึ้นเพื่อเป็นตุ๊กตาเสียกบาลสำหรับสะเดาะเคราะห์หรืออุทิศให้กับสิ่งเหนือธรรมชาติ บางท่านเห็นว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยลิงเปรียบเสมือนจิตที่ไม่หยุดนิ่งจึงต้องมีโซ่ล่ามไว้

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องความเชื่อท้องถิ่น

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.

พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ, นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2550.