ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมเจดีย์ประธาน วัดเชียงงาสง่างาม
เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานเป็นบัวถลาในผังยกเก็จต่อด้วยบัวคลุ่ม องค์ระฆังในผังกลมมีการประดับบัวคอเสื้อ ส่วนยอดทำเป็นเจดีย์จำลอง
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง
จิตรกรรมฝาผนังที่หอพระพุทธบาทนี้มีการเขียนทั้งบนผนัง บานแผละ และเสา ที่ผนังเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก พระมาลัย และพุทธประวัติ ที่บานแผละเขียนเรื่องปาจิตตกุมารชาดก จุลปทมุชาดกและสินไซ ที่เสาเขียนเรื่องสินไซ ลายเครือเถาและลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยภาพจิตรกรรมแสดงเทคนิคที่น่าจะได้รับถ่ายทอดมาจากช่างหลวงในกรุงเทพมหานคร เช่น การเขียนตัวพระ-ตัวนาง การเขียนปราสาทราชวัง วรรณะสีแต่ก็มีการแทรกภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านหรือภาพกากลงไปด้วย
สถาปัตยกรรมเจดีย์อิสรภาพ จ.จันทบุรี
เจดีย์ก่ออิฐถือปูนทาสีขาว มีฐานประทักษิณที่มีพนักระเบียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับพนักระเบียงด้วยกระเบื้องเคลือบปรุลายแบบจีน มีกำแพงแก้วเตี้ยในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบ รองรับเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม ประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ชุดมาลัยเถา บัวลูกแก้วอกไก่เป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง แต่ละชั้นค่อนข้างยืดสูง ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง บัลลังก์สี่เหลี่ยม เสาหาน ปล้องไฉนและปลียอด
สถาปัตยกรรมค่ายเนินวง
ค่ายเนินวงเป็นเมืองป้อมค่ายก่อสร้างด้วยดิน โดยขุดคูขึ้นเป็นเทินรอบเนินดินขนาดใหญ่และก่อกำแพงศิลาแลงมีใบเสมาและช่องปืนบนเชิงโดยรอบ ประตูเมืองเป็นช่องอิฐก่อเป็นคันกันดิน ป้อมประตูเมืองเดิมเป็นอาคารไม้ มุงกระเบื้องอยู่เหนือประตู ยังเหลือตัวอย่างพอสังเกตเค้าได้จากประตูค่ายเนินวง ที่เรียกว่าประตูต้นไทร ด้านทิศเหนือ ตัวป้อมหน้าค่ายเนินวงในปัจจุบัน เป็นป้อมคอนกรีตเสริมเหล็กทรง 8 เหลี่ยมที่บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
สถาปัตยกรรมพระปฐมบรมราชานุสรณ์
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระปฐมบรมราชานุสรณ์เป็นพระบรมรูปประทับนั่งเหนือพระราชบัลลังก์ ผินพระพักตร์มาทางด้านถนนตรีเพชร ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระมาลา ทอดพระหัตถ์บนพระแสงดาบที่อยู่เหนือพระเพลา มีฐานหินอ่อนเป็นที่รองรับพระบรมรูปหล่ออีกชั้นหนึ่ง เบื้องหลังก่อเป็นกำแพงหินอ่อนกั้นตอนกลางเจาะเป็นช่องลึกคล้ายประตู มีเสาหินสลัก 2 ข้าง หน้าบันประดับลายปูนปั้นรุ)พวงมาลัย เหนือหน้าบันสลักรูปอุณาโลม ด้านหลังกำแพงเป็นแผ่นจารึกหินอ่อน จารึกความเป็นมาของการก่อสร้าง และภายหลังได้มีการเสริมกำแพงให้สูงขึ้นไปอีก เบื้องหน้ามีเครื่องบูชา พุ่มดอกไม้ และพานเครื่องประดับ มีน้ำพุ อยู่ทั้ง 2 ข้าง บริเวณหน้าฐานเป็นรั้วคอนกรีตเสากลม ตอนกลางรั้วเป็นแผ่นหินอ่อนคล้ายเป็นลวดลายไทยวางทอดอยู่ กึ่งกลางแผ่นสลักเป็นรูปช้างหันข้างยืนเหนือแท่น ซึ่งเป็นตราปฐมบรมราชจักรีวงศ์
ประติมากรรมเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
โขนเรือเป็นรูปหงส์แกะสลักลวดลายกระหนก ลงรักปิดทองประดับกระจกลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ ลำเรือด้านนอกทาสีดำภายในทาสีแดงกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและกั้นพระวิสูตรสำหรับเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการพระราชพิธีจะประดับปลายปากหงส์โขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ด้วยพู่ทำด้วยขนจามรีซึ่งนำมาจากประเทศเนปาลมีลักษณะเป็นขนสีขาวนุ่มละเอียด ปลายพู่เป็นแก้วผลึก
สถาปัตยกรรมเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
โขนเรือเป็นประติมากรรมรูปพระนารายณ์ 4 กร ทรงเทพศัตราได้แก่ ตรี คฑา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์และมงกุฎยอดชัย ประทับยืนเหนือครุฑ ไม้หัวเรือแกะสลักปิดทองร่องชาดประดับกระจกสีขาบ พื้นลำเรือทาสีแดง ลำเรือประดับลายก้านขดกระหนกเทศ กลางลำเรือประดับบัลลังก์กัญญา ท้ายเรือพระที่นั่งตลอดปลายประดับลวดลายกระหนกแทนขนปีกและหางครุฑ
สถาปัตยกรรมพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม
รูปแบบพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาแบบไทยประเพณี ประดับด้วยเครื่องลำยอง ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ หน้าบันประดับด้วยงานไม้แกะสลัก ปิดทอง ประดับกระจกสี โดยรอบอาคารใช้เสาพาไลสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ทึบตัน ไม่ประดับคันทวยและบัวหัวเสา รองรับน้ำหนักซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอุโบสถตั้งอยู่บนฐานสิงห์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ซึ่งมีซุ้มประตูทางเข้า 8 แห่ง และเกยสำหรับโปรยทาน 8 แห่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ไม่พบในพระอุโบสถแห่งอื่น รูปแบบซุ้มประตูเป็นแบบตะวันตกผสมผสานกับศิลปะไทย