ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม

คำสำคัญ : วัดสุทัศนเทพวราราม, พระอุโบสถ, วัดสุทัศน์, พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม, รัชกาลที่ 3

ชื่อเรียกอื่นพระอุโบสถทิวา-ราตรี
ชื่อหลักวัดสุทัศนเทพวราราม
ชื่ออื่นวัดสุทัศน์
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลเสาชิงช้า
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.750277
Long : 100.500999
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 662284.79
N : 1520612.3
ตำแหน่งงานศิลปะเขตพุทธาวาส

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.2377 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศร เป็นผู้สร้างพระอุโบสถและระเบียงล้อมรอบวิหาร

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่ออิฐถือปูน

ขนาดยาว 11 ห้อง หรือ 72.25 เมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

รูปแบบพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาแบบไทยประเพณี ประดับด้วยเครื่องลำยอง ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ หน้าบันประดับด้วยงานไม้แกะสลัก ปิดทอง ประดับกระจกสี โดยรอบอาคารใช้เสาพาไลสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ทึบตัน ไม่ประดับคันทวยและบัวหัวเสา รองรับน้ำหนักซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอุโบสถตั้งอยู่บนฐานสิงห์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ซึ่งมีซุ้มประตูทางเข้า 8 แห่ง และเกยสำหรับโปรยทาน 8 แห่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ไม่พบในพระอุโบสถแห่งอื่น รูปแบบซุ้มประตูเป็นแบบตะวันตกผสมผสานกับศิลปะไทย

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย เรียกกันว่า พระอุโบสถทิวา-ราตรี เพราะหน้าบันด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกเป็นไม้แกะสลักรูปพระอาทิตย์ทรงราชรถเทียมราชสีห์ ส่วนหน้าบันด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกเป็นไม้แกะสลักรูปพระจันทร์เทพบุตรทรงราชรถเทียมม้า การวางผังพระอุโบสถให้อยู่ในแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก จึงถือว่าเป็นการสร้างตามเส้นทางการโคจรของพระอาทิตย์และพระจันทร์ซึ่งสอดคล้องกับการประดับตกแต่งหน้าบัน และมีการตีความว่าพระอุโบสถหมายถึงชมพูทวีป ตามทิศทางวงโคจรรอบเขาพระสุเมรุซึ่งแทนด้วยพระวิหารหลวง อันเป็นอาคารที่สำคัญและเปรียบเสมือนศูนย์กลางจักรวาลตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐาน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

ไตรภูมิโลกสัณฐาน

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธตรีโลกเชษฐ์เป็นพระพุทธรูปประธานที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 หล่อด้วยสำริด ซึ่งในรัชสมัยนั้นได้มีการค้นพบแหล่งทองแดงที่บ้านจันทึก เมืองนครราชสีมา ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาให้ใช้ทองแดงนั้นเพื่อการหล่อพระพุทธรูป

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-06-01
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ประวัติวัดสุทัศนเทพวราราม พร้อมด้วยแผนผัง ภาพปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ. กรุงเทพฯ: ศิวพร, 2516.

ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา และคณะ. สองศตวรรษวัดสุทัศนเทพวราราม : ศูนย์กลางจักรวาล ศูนย์กลางพระนคร. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2550.

พีระพัฒน์ สำราญ. สถาปัตยกรรมวัดสุทัศนเทพวราราม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ข้อมูลสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.