ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

จิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง

คำสำคัญ : จิตรกรรมฝาผนัง, พระอุโบสถ, รัชกาลที่ 4, วัดทุ่งศรีเมือง, หอพระพุทธบาท, ศิลปะล้านช้าง, ศิลปะลาว, รัชกาลที่ 3

ชื่อหลักวัดทุ่งศรีเมือง
ประเภทงานศิลปะจิตรกรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 15.229682
Long : 104.861055
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 P
Hemisphere : N
E : 485078.43
N : 1683734.85
ตำแหน่งงานศิลปะภายในหอพระพุทธบาทหรือพระอุโบสถ

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏประวัติการเขียน แต่จากรูปแบบสันนิษฐานว่าน่าจะเขียนขึ้นตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เนื่องจากหอพระพุทธบาทหรือพระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2330 หรือปลายรัชกาลที่ 3 แล้ว

กระบวนการสร้าง/ผลิต

สีฝุ่น

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524

ลักษณะทางศิลปกรรม

จิตรกรรมฝาผนังที่หอพระพุทธบาทนี้มีการเขียนทั้งบนผนัง บานแผละ และเสา ที่ผนังเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก พระมาลัย และพุทธประวัติ ที่บานแผละเขียนเรื่องปาจิตตกุมารชาดก จุลปทมุชาดกและสินไซ ที่เสาเขียนเรื่องสินไซ ลายเครือเถาและลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยภาพจิตรกรรมแสดงเทคนิคที่น่าจะได้รับถ่ายทอดมาจากช่างหลวงในกรุงเทพมหานคร เช่น การเขียนตัวพระ-ตัวนาง การเขียนปราสาทราชวัง วรรณะสีแต่ก็มีการแทรกภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านหรือภาพกากลงไปด้วย

สกุลช่างรัตนโกสินทร์
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างของจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามและสมบูรณ์ ที่แสดงอิทธิพลกรุงเทพที่แพร่ไปยังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อสังเกตอื่นๆ

1. จิตรกรรมฝาผนังที่วัดแห่งนี้มีการเขียนหลายเรื่องปะปนกันโดยไม่เรียงลำดับ ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่พบในจิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งต่างจากจิตรกรรมฝาผนังในภาคกลางที่มักเขียนเรียงลำดับเรื่องราว

2. เดิมนักวิชาการบางท่านจัดจิตรกรรมฝาผนังที่วัดทุ่งศรีเมืองนี้อยู่ในกลุ่มอิทธิพลกรุงเทพฯผสมกับล้านช้างแต่จริงๆแล้วน่าจะเป็นงานที่ไม่ได้ผสมผสานกับศิลปะล้านช้าง

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. จิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่างจิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์

2. จิตรกรรมฝาผนังวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดมหาสารคาม ตัวอย่างจิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เขียนหลายเรื่องโดยบางเรื่องไม่ได้เรียงต่อกัน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-17
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555.

สุรชัย ศรีใส. จิตรกรรมฝาผนังหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์, 2555.

ไพโรจน์ สโมสร. จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2532.

ชวลิต อธิปัตยกุล. ฮูปแต้มอีสาน : มุมมองทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นถิ่นบนแผ่นดินอีสาน. อุดรธานี: เต้า-โล้, 2555.