ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 25 ถึง 32 จาก 120 รายการ, 15 หน้า
หลวงพ่อศรีเมือง
หนองคาย
ประติมากรรมหลวงพ่อศรีเมือง

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรใหญ่หรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่มากส่วนยอดพระนาสิกตัด พระโอษฐ์กว้างยิ้มแบบล้านช้าง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่เทอะทะ นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ยาวเท่ากัน ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายที่ปลายกลีบบัวงอนขึ้น มีการทำฐานสิงห์ฉลุลายและมีจารึกอยู่บริเวณฐานแปดเหลี่ยมด้านล่าง

พระใส
หนองคาย
ประติมากรรมพระใส

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยบนฐานกลีบบัวหงาย เม็ดพระศกขนาดเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟขนาดใหญ่มาก พระพักตร์กลมป้อม พระหนุเสี้ยม มีขอบไรพระศก พระขนงเป็นเส้นนูนขึ้น พระเนตรมองตรง พระโอษฐ์ยิ้มแบบล้านช้าง ขอบพระโอษฐ์หนา สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายตัดตรง นิ้วพระหัตถ์ใหญ่และยาวเท่ากัน

พระใส
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระใส

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรใหญ่หรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่มากส่วนยอดพระนาสิกตัด พระโอษฐ์กว้างยิ้มแบบล้านช้าง พระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่เทอะทะ นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ยาวเท่ากัน

พระเสริม
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระเสริม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์รูปไข่และเล็ก พระนลาฏแคบ พระขนงโก่ง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระวรกายบอบบาง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์เล็กเรียวยาวเสมอกัน

พระเจ้าองค์ตื้อ
หนองคาย
ประติมากรรมพระเจ้าองค์ตื้อ

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่เล็กและค่อนข้างยาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวขนาดใหญ่และสูง พระพักตร์สงบ ยังไม่เน้นเส้นขอบพระพักตร์ พระเนตรและพระนาสิกเล็ก พระโอษฐ์กว้าง ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิขนาดใหญ่ยาวถึงพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน ประทับนั่งบนฐานกลีบบัวที่มีแต่บัวหงาย กลีบบัวเป็นแนวเฉียงโค้งงอน

พระพุทธรูป วัดทุ่งศรีเมือง
อุบลราชธานี
ประติมากรรมพระพุทธรูป วัดทุ่งศรีเมือง

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย พระพักตร์เสี้ยม เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวขนาดใหญ่และสูง มีเส้นขอบพระพักตร์ พระเนตรมองตรง พระนาสิกงุ้ม พระกรรณโค้งงอน ขอบพระโอษฐ์หนายิ้มแบบล้านช้าง ชายสังฆาฎิใหญ่ยาวจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน

พระพุทธรูปแสดงพุทธกิจวัตรประจำวัน
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปแสดงพุทธกิจวัตรประจำวัน

พระพุทธรูปทุกองค์มีรูปแบบอย่างที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ มีพระพักตร์สงบนิ่ง อ่อนเยาว์ คล้ายหุ่นละคร เม็ดพระศกเล็ก มีอุษณีษะ และพระรัศมีเปลว ครองจีวรห่มเฉียงเรียบไม่มีริ้ว มีสังฆาฏิเป็นแผ่นพาดจากพระอังสาซ้ายมาที่กลางพระอุระ ชายสบงยาว มีขอบรัดประคดและจีบด้านหน้าเป็นแถบสี่เหลี่ยม นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาวเสมอกัน พระพุทธรูปแต่ละองค์มีอิริยาบถที่แตกต่างกันดังนี้1.พระพุทธรูปไสยาสน์ ประดิษฐานบนพระแท่นศิลาสลักแบบจีนในศาลามุมหน้าด้านขวา พระพุทธรูปประทับนอนตะแคงขวา พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียรโดยมีหมอนสามเหลี่ยมอยู่ด้านหลัง พระบาทซ้อนเสมอกัน2.พระพุทธรูปทรงตื่นบรรทม ประทับนั่งห้อยพระบาท มีดอกบัวรองรับ บนพระแท่นศิลาสลักแบบจีน พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางเสมอกันบนพระเพลา3.พระพุทธรูปยืนทรงครองจีวร ประดิษฐานในศาลามุมหลังด้านซ้าย แสดงการครองจีวรโดยยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นยึดชายจีวรที่พระอุระ พระพุทธรูเสวยพระกระยาหาร ประดิษฐานในศาลามุมหลังด้านขวา ประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาหงายอยู่ในระดับพระนาภี พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำเหนือพระชงฆ์

พระพุทธรูปท่ามกลางพระอสีติมหาสาวก
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปท่ามกลางพระอสีติมหาสาวก

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิบนแท่นฐานบัวเตี้ยๆ แวดล้อมด้วยพระอสีติมหาสาวกจำนวน 80 รูป ซึ่งอยู่ในท่านั่งพับเพียบ พนมมือ นั่งเรียงเป็นแถวซ้ายขวาทางด้านหน้า และล้อมด้านหลังพระพุทธรูป พุทธลักษณะเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 กล่าวคือ ไม่มีอุษณีษะ โดยมีเพียงขมวดพระเกศาและต่อด้วยพระรัศมีเปลว ขนาดพระวรกายมีความสมจริงใกล้เคียงกับบุคคลโดยทั่วไป ใบพระกรรณหดสั้นคล้ายใบหูมนุษย์มากขึ้น ครองจีวรห่มเฉียงมีริ้วอย่างเป็นธรรมชาติ และมีสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่พาดผ่านพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างวางพาดบนพระเพลาอย่างเป็นธรรมชาติอันหมายถึงการแสดงพระธรรมเทศนาโดยไม่แสดงวิตรรกมุทรา ระบายสีจีวรด้วยสีเหลือง และระบายสีพระพักตร์และพระฉวีด้วยสีเนื้อ พระขนงและพระเนตรเป็นสีดำตามแนวคิดแบบสมจริง รูปพระสาวกอยู่ในท่านั่งพนมมือ ครองจีวรห่มเฉียงระบายสีเหลือง โดยมีสังฆาฏิแผ่นใหญ่พาดทับบ่าซ้ายเช่นเดียวกันทั้งหมด ศีรษะโล้นเรียบระบายด้วยสีดำ แต่พระอสีติมหาสาวกทั้ง 80 รูปก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น สีผิว รายละเอียดบนใบหน้า รอยยับของจีวร