ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระใส

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, วัดปทุมวนาราม, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, ศิลปะล้านช้าง, ศิลปะลาว, พระใส, พระสายน์

ชื่อเรียกอื่นพระสายน์
ชื่อหลักวัดปทุมวนาราม
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลทุ่งพญาไท
อำเภอเขตพญาไท
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.745896
Long : 100.537143
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 666195.85
N : 1520153.79
ตำแหน่งงานศิลปะพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏประวัติการสร้างแต่จากรูปแบบน่าจะสร้างขึ้นต้น – กลางพุทธศตวรรษที่ 22

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2492

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรใหญ่หรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่มากส่วนยอดพระนาสิกตัด พระโอษฐ์กว้างยิ้มแบบล้านช้าง พระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่เทอะทะ นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ยาวเท่ากัน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างในกรุงเทพมหานคร

ข้อสังเกตอื่นๆ

พระสายน์มีพุทธศิลป์แบบล้านช้างอย่างแท้จริง ต่างจากพระพุทธรูปในยุคสมัยก่อนหน้าที่มีพุทธศิลป์ที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะล้านนาค่อนข้างมาก

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุกลาง – ปลายพุทธศตวรรษที่ 22
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

พระสายน์เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำบนเขาใกล้เมืองมหาไชย ชาวเมืองมักจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ออกมาในช่วงที่เกิดฝนแล้งเพื่อขอฝน

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์ใกล้เคียงกันและน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

2. พระแสน วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานร่วมกับพระสายน์แต่มีพุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระเสริมมากกว่า

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-18
ผู้จัดทำข้อมูลธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555.

ประภัสรร์ ชูวิเชียร. ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

เจริญ ตันมหาพราน. พระพุทธรูปล้านช้าง. กรุงเทพฯ: ปราชญ์, 2554.