ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปแสดงพุทธกิจวัตรประจำวัน
คำสำคัญ : วัดสุทัศนเทพวราราม, พระพุทธรูป, วัดสุทัศน์
ชื่อหลัก | วัดสุทัศนเทพวราราม |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดสุทัศน์ |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | เสาชิงช้า |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.751234 Long : 100.501228 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662308.65 N : 1520720.41 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ศาลาประจำมุมทั้ง 4 ของพระวิหารหลวง |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | โลหะปิดทอง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปทุกองค์มีรูปแบบอย่างที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ มีพระพักตร์สงบนิ่ง อ่อนเยาว์ คล้ายหุ่นละคร เม็ดพระศกเล็ก มีอุษณีษะ และพระรัศมีเปลว ครองจีวรห่มเฉียงเรียบไม่มีริ้ว มีสังฆาฏิเป็นแผ่นพาดจากพระอังสาซ้ายมาที่กลางพระอุระ ชายสบงยาว มีขอบรัดประคดและจีบด้านหน้าเป็นแถบสี่เหลี่ยม นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาวเสมอกัน พระพุทธรูปแต่ละองค์มีอิริยาบถที่แตกต่างกันดังนี้ 1.พระพุทธรูปไสยาสน์ ประดิษฐานบนพระแท่นศิลาสลักแบบจีนในศาลามุมหน้าด้านขวา พระพุทธรูปประทับนอนตะแคงขวา พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียรโดยมีหมอนสามเหลี่ยมอยู่ด้านหลัง พระบาทซ้อนเสมอกัน 2.พระพุทธรูปทรงตื่นบรรทม ประทับนั่งห้อยพระบาท มีดอกบัวรองรับ บนพระแท่นศิลาสลักแบบจีน พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางเสมอกันบนพระเพลา 3.พระพุทธรูปยืนทรงครองจีวร ประดิษฐานในศาลามุมหลังด้านซ้าย แสดงการครองจีวรโดยยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นยึดชายจีวรที่พระอุระ พระพุทธรูเสวยพระกระยาหาร ประดิษฐานในศาลามุมหลังด้านขวา ประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาหงายอยู่ในระดับพระนาภี พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำเหนือพระชงฆ์ |
สกุลช่าง | ช่างหลวงในรัชกาลที่ 3 |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ศาลาประจำมุมทั้ง 4 ของพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ที่อยู่ในอิริยาบถแตกต่างกัน ได้แก่ พระพุทธรูปไสยาสน์ พระพุทธรูปทรงตื่นบรรทม พระพุทธรูปยืนทรงครองจีวร และพระพุทธรูปเสวยพระกระยาหาร ซึ่งแสดงถึงพุทธกิจประจำวันของพระพุทธเจ้า อิริยาบถเหล่านี้พบไม่มากนักในงานศิลปกรรมไทย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น พระพักตร์สงบนิ่งคล้ายหุ่น เม็ดพระศกขนาดเล็ก มีอุษณีษะ และพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ประกอบกับในช่วงเวลานี้เริ่มมีแนวคิดใหม่ในการสร้างพระพุทธรูปโดยสืบค้นจากเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติซึ่งทำให้เกิดพระพุทธรูปปางต่างๆ เพิ่มมากขึ้น |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ประวัติวัดสุทัศนเทพวราราม พร้อมด้วยแผนผัง ภาพปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ. กรุงเทพฯ: ศิวพร, 2516. ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา และคณะ. สองศตวรรษวัดสุทัศนเทพวราราม : ศูนย์กลางจักรวาล ศูนย์กลางพระนคร. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2550. |