ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธวชิรญาณ
คำสำคัญ : วัดบวรฯ บางลำพู, วัดบวรนิเวศวิหาร, พระพุทธรูป, วัดบวร, รัชกาลที่ 4, พระพุทธวชิรญาณ
ชื่อเรียกอื่น | พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 4 |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดบวรนิเวศวิหาร |
ชื่ออื่น | วัดบวร |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | บวรนิเวศ |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.760163 Long : 100.499757 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662143.91 N : 1521705.85 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในวิหารเก๋ง เขตพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามพระราชดำริในรัชกาลที่ 4 โดยมีหลักฐานในประกาศพระราชพิธีสมภาคาภิเศก รัชกาลที่ 4 เท่ารัชกาลที่ 4 หรือพระราชพิธีทรงครองสิริราชสมบัติของรัชกาลที่ 5 เสมอด้วยรัชกาลที่ 4 มีความว่า “...อนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังเสด็จดำรงอยู่ ได้มีพระบรมราชโองการทรงกะไว้ว่า วิหารเก๋งในวัดบวรนิเวศน์ควรจะเปนที่ไว้พระรูปท่านผู้เปนปธานาธิบดี ในพระอารามวัดบวรนิเวศน์...” |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | โลหะปิดทอง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างจักรพรรดิราช ประทับยืนปางห้ามสมุทร รูปแบบเดียวกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์ที่ประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง ทรงเครื่องประดับจำนวนมาก ได้แก่ พระมหามงกุฎ สังวาล พาหุรัด ทองพระกร ธำมรงค์ โดยเฉพาะส่วนของชายไหวชายแครงที่มีลักษณะอ่อนช้อยที่ด้านหน้าสบงเหนือพระเศียรประดับฉัตร 7 ชั้นพระพุทธรูปประทับยืนบนแท่นฐานกลีบบัวซึ่งรองรับด้วยฐานสิงห์ ที่มีรูปเทพพนมและครุฑแบกประดับที่ชั้นฐานก็เป็นลักษณะเดียวกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์ต่างๆ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวังด้วย ที่ฐานมีจารึกข้อความกล่าวถึงพระราชดำริและประวัติการสร้างพระพุทธวชิรญาณ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปแทนพระองค์เองสำหรับประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารซึ่งเป็นวัดที่ทรงครองขณะทรงผนวช แต่พระราชดำรินั้นยังไม่ลุล่วงก็เสด็จสวรรคต ในรัชกาลที่ 5จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างจักรพรรดิราช ปางห้ามสมุทร เพื่อเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “พระพุทธวชิรญาณ” ประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในวิหารเก๋งวัดบวรนิเวศวิหารน่าสังเกตว่าแม้พระพุทธวชิรญาณจะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราชตามโบราณราชประเพณีที่นิยมสร้างเพื่อเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์หรือทรงพระราชอุทิศพระราชทานแก่พระราชวงศ์ แต่มีการแสดงออกถึงความสมจริงบางประการ โดยเฉพาะพระกรรณ ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบหูของมนุษย์ แตกต่างจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์องค์อื่นๆในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท, ประเพณีในราชสำนัก |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | การสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | พระพุทธรูปฉลองพระองค์ที่ประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์, ประกาศการพระราชพิธี เล่ม 2, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2550. ศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร, 2556. |