ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

แผ่นเงินดุนนูน

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, ธรรมจักร, พระพิมพ์, แผ่นเงินดุนนูน, สถูป

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 16.446119
Long : 102.83852
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 Q
Hemisphere : N
E : 269213.66
N : 1819516.46
ตำแหน่งงานศิลปะภายในอาคารจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี โดยบรรจุอยู่ร่วมกันภายในภาชนะดินเผาที่ฝังอยู่ภายใต้อาคารที่เรียกว่า อุ่มญาคู เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ดุนนูนบนแผ่นเงิน

ลักษณะทางศิลปกรรม

แผ่นเงินจำนวนทั้งสิ้น 66 แผ่น ดุนนูนเป็นรูปต่างๆ ได้แก่ พระพุทธรูป สถูป เทวดา และธรรมจักร แต่ละแผ่นไม่ซ้ำแบบกัน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นตัวอย่างของปูชนียวัตถุในพุทธศาสนาที่ทำจากแผ่นเงินดุนนูนที่พบร่วมกันมากที่สุด ค้นพบโดยนักโบราณคดีของกรมศิลปากร บันทึกไว้ว่าแผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปปูชนียวัตถุในพุทธศาสนาเหล่านี้บรรจุอย่ายในภาชนะดินเผาซึ่งฝังอยู่ใต้อาคาร อันอาจแสดงให้เห็นถึงกิริยาบุญอย่างใดอย่างหนึ่งของคนสมัยนั้น

ข้อสังเกตอื่นๆ

ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 ขณะนั้นกรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งโบราณสถานที่น่าเรียกกันภายใต้อาคารที่เรียกว่า อุ่มญาคู เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.