ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมกุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง
แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านนอกสุดเป็นกำแพงศิลาแลงมีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระทางทิศตะวันออก ตรงกลางภายในเป็นที่ตั้งของปราสาทประธานก่อด้วยศิลาแลง บางตอนมีหินทรายประกอบกรอบประตู ประตูด้านหน้าทางทิศตะวันออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ประตูอีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานภายในกำแพงแก้วเป็นบรรณาลัยก่อด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกัน บางส่วนของโคปุระและปราสาทประธานมีการประดับด้วยส่วนประกอบของหน้าบันหรือทับหลังเป็นรูปนาค มกรคายนาค สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบศิลปะในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 แต่ทว่าส่วนประดับเหล่านี้ดูไม่สู้จะต่อเนื่องกับปราสาทประธานและกำแพง จึงอาจเป็นการนำของเดิมมาประกอบอาคารที่ก่อสร้างใหม่ อย่างไรก็ตาม หากชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นของที่มีมาแต่เดิม ก็อาจสันนิษฐานว่าเคยมีศาสนสถานแห่งหนึ่งสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 จึงปรับเปลี่ยนใช้เป็นอโรคยศาลในพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมปราสาทกู่พันนา
ประกอบด้วยปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมหนึ่งหลัง ตั้งอยู่กึ่งกลางภายในกำแพงศิลาแลงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เครื่องบนของปราสาทประธานนั้นพังทลายลงไป ส่วนประตูทางเข้าออกนั้นด้านเดียวทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้านทำเป็นประตูหลอก ประตูทางเข้าออกนี้ทำเป็นห้องยาวๆ ด้านหน้าเป็นมุข ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานปรากฏเฉพาะส่วนฐานของบรรณาลัยสร้างด้วยศิลาแลงในผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนกึ่งกลางของกำแพงศิลาแลงด้านทิศตะวันออกนั้นปรากฏซุ้มประตูหรือโคปุระในผังจัตุรัสรูปกากบาท และภายนอกกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีสระน้ำรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกัน
สถาปัตยกรรมปราสาทพนมวัน
อยู่ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสหันหน้าไปทางทิศตะวันออก กลุ่มปราสาทประธานประกอบด้วยตัวปราสาทประธาน อันตราละ และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกันปราสาทประธานมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกมุม มีซุ้มมุขและประตูทางเข้าทั้งสี่ทิศ โดยมีมุขทางเข้าด้านทิศตะวันออกเชื่อมต่อกับอันตราละคือฉนวนหรือมุขกระสันซึ่งทำเป็นทางผ่านไปยังมณฑปที่อยู่ทางด้านหน้า มณฑปนั้นมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าทั้งสี่ทิศเช่นเดียวกับปราสาทประธาน และมีหลังคาเป็นรูปโค้งทรงประทุน ทั้งหมดนี้ล้อมรอบด้วยแนวระเบียงคดซึ่งมีโคปุระหรือซุ้มประตูอยู่ทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุมทั้ง 4 ของระเบียงคดยังปรากฏซุ้มทิศขนาดเล็กทรงสี่เหลี่ยมออกมุมมีประตูทางเข้าและประตูที่เชื่อมต่อกับปีกโคปุระทั้ง 2 ด้านส่วนทางทิศใต้ของปราสาทประธานในเขตระเบียงคดมีปราสาทขนาดย่อมลงมาเรียกกันว่าปรางค์น้อย มีผังแบบเพิ่มมุม ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลง แต่ส่วนของเรือนธาตุก่อด้วยหินทราย มีประตูทางเข้าออกทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก ปัจจุบันส่วนยอดได้พังทลายลงมาแล้ว องค์ปราสาทยังไม่มีการสลักลวดลายตกแต่งลงไปเป็นเพียงโครงสร้างรูปปราสาทเท่านั้น จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นสันนิษฐานว่าปรางค์น้อยนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ภายในยังเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทหินทราย นอกจากนี้ภายในระเบียงคดยังพบแนวฐานอาคารอิฐหลายหลังอยู่ล้อมรอบปราสาทประธานอีกด้วย
ประติมากรรมภาชนะดินเผาบ้านเชียง
เป็นภาชนะดินเผาในหลุมฝังศพที่พบได้จากการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้1.สมัยต้น มีอายุระหว่าง 4,300-3,000 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อยระยะที่ 1 มีภาชนะดินเผาประเภทเด่นคือ ภาขนะดินเผาสีดำ-เทาเข้ม มีเชิงหรือฐานเตี้ยๆ ลำตัวภาชนะครึ่งบนมักตกแต่งด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง แล้วตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการกดจุดหรือเป็นเส้นสั้นๆ เติมในพื้นที่ระหว่างลายเส้นคดโค้ง ส่วนครึ่งล่างของตัวภาชนะมักตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ซึ่งหมายถึงลวดลายที่เกิดจากการกดประทับผิวภาชนะดินเผาด้วยเชือกนั่นเองระยะที่ 2 เริ่มปรากฏภาชนะดินเผาแบบใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพเด็กก่อนที่จะนำไปฝัง นอกจากนี้ยังมีภาชนะดินเผาขนาดสามัญซึ่งมีการตกแต่งพื้นที่ส่วนใหญ่บนผิวภาชนะด้านนอกด้วยเส้นขีดเป็นลายคดโค้ง จึงดูเสมือนเป็นภาชนะที่มีปริมาณลวดลายขีดตกแต่งหนาแน่นกว่าบนภาชนะของสมัยต้นช่วงแรกระยะที่ 3 เริ่มปรากฏภาชนะแบบที่มีผนังด้านข้างตรงถึงเกือบตรง ทำให้มีรูปร่างภาชนะเป็นทรงกระบอก (beaker) และยังมีภาชนะประเภอหม้อก้นกลม คอภาชนะสั้นๆ ปากตั้งตรง ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบตลอดทั้งใบระยะที่ 4 ปรากฏภาชนะดินเผาประเภทหม้อก้นกลม มีกลุ่มหนึ่งตกแต่งบริเวณไหล่ภาชนะด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้งผสมกับการระบายด้วยสีแดง ในขณะที่ส่วนบริเวณลำตัวภาชนะช่วงใต้ไหล่ลงมาตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผาแบบนี้มีการตั้งชื่อว่า “ภาชนะแบบบ้านอ้อมแก้ว” เพราะพบว่าเป็นภาชนะดินเผาประเภทหลักที่พบในชั้นอยู่อาศัยของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ช่วงแรกที่บ้านอ้อมแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเชียง2.สมัยกลาง อายุระหว่าง 3,000-2,000 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อยภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ผิวนอกสีขาว ทำส่วนไหล่ภาชนะหักมุมหรือโค้งมากจนเกือบเป็นมุมค่อนข้างชัด มีทั้งแบบก้นกลมและก้นแหลม บางใบมีการตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนสีที่บริเวณใกล้ปากภาชนะ ในช่วงปลายสุดของสมัยกลาง เริ่มมีการตกแต่งปากภาชนะดินเผารูปแบบเช่นนี้ด้วยการทาสีแดง3.สมัยปลาย อายุระหว่าง 2,300-1,800 ปีมาแล้ว ช่วงต้นของสมัยปลาย พบภาชนะดินเผาเขียนสีแดงบนพื้นสีนวลช่วงกลางของสมัยปลาย เริ่มมีการใช้ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีแดงช่วงท้ายของสมัยปลาย เริ่มมีการใช้ภาชนะดินเผาทาด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมันลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะดินเผา สามารถจำแนกได้ดังนี้1.กลุ่มลวดลายรูปร่างเรขาคณิต 2.กลุ่มลวดลายอิสระแบบดุลยภาพสมมาตร 3.กลุ่มลวดลายอิสระแบบดุลยภาพอสมมาตร ส่วนรูปแบบลวดลายที่นิยมในสมัยปลาย คือ การเขียนสีบนเคลือบน้ำดินสีนวล ลวดลายวงกลมหรือวงรี ลวดลายเส้นโค้งแบบก้นหอยวนเข้าหาจุดศูนย์กลาง ลายเส้นโค้งแบบก้นหอยวนเข้าหาจุดศูนย์กลางแล้ววนออกและลวดลายตัว S และ Z ลวดลายภาชนะแสดงถึงความพิถีพิถัน ผู้ผลิตสร้างขึ้นให้กับผู้ตายตามประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับความตาย พื้นฐานทางความคิดของผู้สร้างสรรค์ลวดลายของชุมชนมีความร่วมกันทางวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็ปรากฏถึงความหลากหลายในการออกแบบ ซึ่งมีพัฒนาการในระยะแรกเริ่มจากรูปแบบเรียบง่าย ต่อมาในระยะหลังเมื่อผลิตจำนวนมากขึ้น มีความรู้ความชำนาญมากขึ้นก็พัฒนาไปสู่การสร้างลวดลายที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
จิตรกรรมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม
สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ตามชื่อหน้าผาเรียงต่อกันไปคือผาขาม ผาแต้ม ผาหมอนน้อย และผาหมอน ทั้งหมดนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก1. ผาขามแสดงภาพปลาขนาดใหญ่ 4 ตัว ยาวประมาณ 0.35 - 1.00 เมตร เขียนด้วยสีแดงแบบเห็นโครงสร้างภายใน ( x-ray ) นอกจากนั้นมีภาพช้าง 1 ตัว ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าปลามาก (ประมาณ 13 ซม.) และภาพสัตว์สี่เท้า 1 ตัว2. ผาแต้มภาพเขียนปรากฎมีตลอดแนวหน้าผายาว 180 เมตร สูงจากพื้นประมาณ 4 - 5 เมตร ภาพที่เขียนลงสีไว้มีมากกว่า 300 รูป ที่ผาแต้มนี้มีภาพที่เกิดจากการฝนเซาะร่องลงไปในเนื้อหินเป็นลายเส้นเรียงแถวตามแนวตรงบ้าง เฉียงบ้าง แนวนอนบ้าง สูงตั้งแต่ 5 - 15 ซม. ส่วนนี้ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในช่วงยาวประมาณ 80 ซม.เท่านั้น อาจเป็นภาพสัญลักษณ์บางอย่างสำหรับภาพเขียนสีซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่บริเวณนี้ ส่วนใหญ่เขียนด้วยสีแดง มีสีดำและสีขาวบ้าง แบ่งเป็นภาพคนซึ่งมีขนาดเล็ก พบเพียง 10 ภาพภาพสัตว์ เช่น ช้าง ปลา เต่าหรือตะพาบน้ำ สุนัข วัว ไก่หรือนก เป็นต้น มักแสดงภาพขนาดใหญ่ราวกับเท่าของจริง โดยเฉพาะช้างและปลาที่มีขนาดยาวถึง 4 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร ภาพสัตว์นี้พบประมาณ 30 ภาพ ทั้งภาพคนและสัตว์ มักอยู่ในอาการเคลื่อนไหวภาพวัตถุสิ่งของ อาจเป็นเครื่องมือจับปลาที่เรียกว่า "ตุ้ม" และหน้าไม้ หรือคันธนูซึ่งคนกำลังถือใช้งานอยู่ภาพสัญลักษณ์ เป็นลายเส้นวกเวียนไปมา หรือเป็นเส้นหยัก ลูกคลื่นหรือฟันปลา ซึ่งอาจหมายถึง"น้ำ" หรือกับดักปลา ลายก้างปลา ลายรูปทรงเรขาคณิต ลายเส้นขนานคล้ายทุ่งนา เป็นต้นภาพมือ ซึ่งพบอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 200 มือ มีทั้งมือผู้ใหญ่ และมือเด็ก และมีทั้งสีแดง สีดำ และสีขาว ภาพทุกประเภทเขียนอยู่ร่วมกันเสมอ โดยเฉพาะภาพมือ ปรากฏมีสอดแทรกกับภาพอื่นๆ ทุกภาพภาพเขียนส่วนมากเขียนแบบระบายสีเงาทึบ (silhouette) นอกนั้นเป็นแบบโครงร่างรอบนอก (outline) และแบบกิ่งไม้ (stick man) ส่วนภาพมือมีรูปแบบการทำหลายแบบ มีทั้งแบบพ่น (stencil) แบบทาบ (imprint) และแบบเขียนเส้นโครงรอบนอก (outline)3. ผาหมอนน้อยแสดงภาพคนสูงประมาณ 1.6 เมตร กำลังเหนี่ยวคันธนูเล็งไปยังสัตว์สี่ขาซึ่งอาจเป็นวัวตั้งครรภ์ ลำตัวยาวประมาณ 6.4 เมตร ต่อมาเป็นภาพคนสูงประมาณ 1.2 เมตร กำลังไล่สัตว์สี่ขามีเขาอาจเป็นกวางที่บุกรุกเข้าไปในนาข้าว ซึ่งรอบๆภาพกลุ่มนี้มีภาพมือทั้งซ้ายและขวาประมาณ 20 มือ ทำขึ้นโดยการทาสีบนฝ่ามือแล้วขูดสีบางส่วนที่นิ้วและฝ่ามือออกแล้วจึงทาบมือลงบนผนัง ถัดมาเป็นภาพสัตว์สี่ขา 3 ตัว ท้องป่องคล้ายตั้งครรภ์เช่นกัน กับภาพลายเส้นคล้ายตาข่ายดักสัตว์ นอกจากนี้ก็มีภาพลายเส้นคู่ขนานต่อกัน และภาพมือที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มแรกอีกประมาณ 15 มือ เรียงกันเป็นแถวยาวกับลายเส้นหยักขึ้นลงวกไปมาด้วย ภาพคนและสัตว์ระบายสีแดงแบบเงาทึบ (silhouette)เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพเขียนสีที่ผาแต้มและผาหมอนน้อยนี้ ภาพทุกประเภทมีความสัมพันธ์เป็นเรื่องราวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพคนกับวัวกับภาพมือ ภาพปลากับมือ ภาพ"ตุ้ม"กับมือ และสัญลักษณ์ ภาพทุ่งนากับคนกับกวางกับมือ ภาพคนกำลังล่าวัวหรือกวาง4. ผาหมอนภาพทั้งหมดในส่วนนี้เขียนด้วยสีแดงแบบระบายเงาทึบ (silhouette) ประกอบด้วยภาพคนและสัตว์ กลุ่มแรกมีภาพคนเพียงคนเดียวกับภาพสัตว์สี่ขา 11 ตัว อาจเป็นช้าง วัว สุนัข และหมูหรือแกะหรือแพะเดินตามกันไปในทิศทางเดียวกัน (ยกเว้นสัตว์ตัวหนึ่งซึ่งอาจเป็นสุนัขที่หันหน้าเข้าหาฝูงสัตว์) กลุ่มที่สองเป็นภาพคนประมาณ 10 คน เขียนแบบระบายเงาทึบกับแบบกิ่งไม้ มีลักษณะค่อนข้างเหมือนจริง แสดงกล้ามเนื้อน่องโป่งพองด้วย ภาพที่น่าสนใจของที่ผาหมอนนี้คือภาพคนนุ่งกระโปรงยาวครึ่งน่อง ยืนท้าวสะเอว มีขนาดใหญ่กว่าภาพคนอื่นๆ ไม่รู้แน่ว่าเป็นหญิงหรือชาย นอกจากนี้มีภาพมือข้างขวาของผู้ใหญ่แบบพ่น (stencil) 2 มือ และแบบทาบ (imprint) อีก 2 มือ และมือเด็กแบบทาบอีก 2 มือด้วย ภาพเขียนสีทั้ง 4 กลุ่มนี้จะเห็นได้ว่ามีภาพมือเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ อาจหมายถึงการร่วมมือร่วมแรงกันทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ร่วมมือกันจับปลา ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือล่าสัตว์ แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้วาดภาพเหล่านั้นว่าอยู่ในสังคมเกษตรกรรม และยังอาจหมายถึงการมีความเชื่อร่วมกันในเรื่องความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
จิตรกรรมถ้ำผาลายภูผายนต์
ภาพสลักต่างๆ นั้นสามารถแยกประเภทได้ดังนี้1. ภาพคน มีทั้งหมด 21 ภาพ มีทั้งภาพคนที่เหมือนจริงและภาพกึ่งเหมือนจริง ภาพเหมือนจริงคือภาพที่บ่งบอกลักษณะว่าเหมือน เช่น ภาพเหมือนคนซึ่งเน้นแสดงโครงภายนอก ไม่มีรายละเอียดของอวัยวะ เช่น หู ตา ปาก จมูก นิ้วมือ นิ้วเท้า มีจำนวน 9 ภาพ เป็นภาพเด็ก 2 ภาพ ผู้ใหญ่ 7 ภาพ ส่วนภาพกึ่งเหมือนจริงคือภาพที่บ่งบอกลักษณะว่าเป็นคนโดยสัดส่วน แต่จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น หัวคนเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือแขน ขา ไม่เน้นให้เห็นกล้ามเนื้อ แต่มีอวัยวะที่สำคัญครบส่วน เช่น หู ตา ปาก จมูก ไม่มีนิ้วมือ นิ้วเท้า ภาพประเภทนี้ มี 12 ภาพ2. ภาพมือ มีเพียงภาพเดียว เป็นภาพมือขวาหงายมือแสดงอุ้งมือ มีนิ้ว 6 นิ้ว3. ภาพสัตว์ มีทั้งหมด 21 ภาพ ภาพปลา 8 ภาพ ภาพนก 4 ภาพ ภาพสุนัข 2 ภาพ กระรอกหรือกระแต 1 ภาพ ภาพควาย 1 ภาพ วัวหรือควาย 4 ภาพ กบหรือเขียด 1 ภาพ4. ภาพลวดลายเรขาคณิต เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือทำเป็นลวดลายต่างๆ มีรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม กากบาท หัวลูกศร สามเหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นเดียว ลายเส้นเรียงแถวกัน ลายเส้นตัดกันไปตัดกันมาจนหารูปทรงที่แน่นอนไม่ได้ซึ่งพบเป็นจำนวนมาก5. ภาพสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ภาพที่คล้ายไถ เครื่องมือทำนาแสดงเฉพาะส่วนหัวที่เรียกว่า "หัวหมู" หรือ "ผาล" อยู่ตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีรูปจอบมีด้ามและรูปพัดสำหรับพัดให้กระแสลมพัดข้าวเมล็ดลีบออก 6.ภาพอาคาร มีลักษณะคล้ายบ้าน 2 ภาพ เป็นทรงบ้านหลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ภาพหนึ่งมีสุนัขอยู่ข้างในบ้าน อีกภาพหนึ่งเป็นบ้านที่มียอดหลังคาไขว้คล้ายเรือนกาแล หรือเถียงนาในภาคอีสาน และมีภาพคล้ายคนอยู่ในบ้าน
จิตรกรรมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาจันทน์งาม
ภาพเขียนสีทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-4 เมตร การศึกษาที่ผ่านมาของกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดแบ่งภาพเขียนสีที่พบเป็น 12 กลุ่มตามตำแหน่งที่พบ โดยรวมแล้วมีภาพทั้งหมด 44 ภาพ เป็นภาพคน 32 ภาพ ภาพสัตว์ 5 ภาพ (สุนัข นกหรือไก่ ตะกวด? เม่น? เสือ?) คันธนูและลูกศร 1 ภาพ และไม่ทราบว่าเป็นภาพชนิดใด 5 ภาพ เทคนิคการเขียนภาพมี 2 แบบ คือ ภาพเงาทึบและลายเส้นโครงร่างภายนอก ภาพคนส่วนใหญ่มีส่วนน่องโต มีผ้านุ่ง ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงจะมีหางนกห้อยมาจากกระเบนเหน็บและพู่ประทับบนหัวกลุ่มที่ 1 เป็นภาพชุดที่เด่นและสำคัญที่สุด อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออก เนื้อที่ขนาด 1x2 เมตร เป็นภาพเขียนแบบเงาทึบ ภาพมี 2 แถว (บนและล่าง) ลักษณะเป็นรูปกลุ่มคน 14 คน มีทั้งเพศชายและหญิง วัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งภาพสุนัข 1 ตัว โดยมีรายละเอียดคือแถวบน เป็นภาพคน 3 คน คนแรกมีเพียงครึ่งซีก ไม่มีหัว คนที่ 2 ยืนกางแขน มีผ้ากางออกมาจากส่วนเอวทั้ง 2 ข้าง ชายผ้ามีแฉกเป็นริ้วๆ เป็นภาพที่เขียนด้านตรง แต่หันหน้าเอียงไปทางขวา คนที่ 3 เขียนให้เห็นด้านข้าง หันหน้าไปทางตรงกันข้ามกับคนที่ 2 ภาพนี้ไม่เต็มรูป ขาดส่วนคอ ลำตัวบางส่วน และต้นขาแถวล่าง เป็นขบวนภาพคนเดินเรียงเป็นแถว ภาพแรกของแถวล่างอยู่ต่ำจากแถวบนประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นภาพคนยืนถือธนูในท่าทางกำลังยิงธนู โดยลูกธนูถูกยิงออกจากคันธนูแล้ว ภาพนี้เป็นภาพเขียนให้เห็นด้านข้าง มีเส้นผมอยู่บนหัว นุ่งผ้าห้อยหน้าหลัง ชายผ้าด้านนอกมีแฉกเป็นริ้วๆ ขาด้านหลังสลับเลื่อนไป ต่อจากภาพนี้เป็นภาพสุนัข หูตั้ง หางดาบ มีอวัยวะเพศบ่งบอกว่าเป็นตัวผู้ ลักษณะตัวผอมยาว ต่ำจากภาพสุนัขลงมาเล็กน้อยเป็นภาพคนนั่งชันเข่า คนที่ 2 เป็นภาพผู้หญิงมีท้องใหญ่ เปลือยอก มีหางคล้ายหางนก ภาพ 2 คนนี้อยู่ในลักษณะที่กำลังเล่นหรือคุยกัน คนหนึ่งเป็นผู้ชาย คนหนึ่งเป็นผู้หญิง ภาพถัดไปเป็นภาพคนยืนเท้าเอว นุ่งผ้า 2 ชิ้นหน้าหลัง แขนขวายกตั้งศอก เป็นภาพเขียนด้านข้าง ห่างจากภาพนี้ไปประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นภาพคนยืนหลังค่อม บนหัวมีเส้นผม นุ่งผ้า 2 ชิ้นหน้าหลัง ชายผ้าด้านหน้ามีแฉกเป็นริ้วๆ มือขวายื่นออกไปถือสิ่งของคล้ายไม้เท้า ข้างหน้าภาพนี้เป็นภาพคนยืนยกแขนทั้ง 2 ข้าง คล้ายอยู่ในท่ารำ ต้นขาด้านหลังขาดหายไป ภาพถัดไปเป็นภาพผู้หญิง เห็นด้านข้างในท่าร่ายรำ ข้างหน้าภาพผู้หญิงเป็นภาพคนยืนยื่นแขนออกไปข้างหน้า มีผ้าปิดหน้า หลังชายผ้ามีรูปกากบาท ภาพถัดไปเป็นภาพเด็ก 2 คน อยู่ในท่ารำ คนหนึ่งยกแขกนทั้ง 2 ข้างขึ้น อีกคนหนึ่งมือซ้ายเท้าเอว มีขวายกขึ้น นุ่งผ้า 2 ชิ้นปิดหน้าหลัง ภาพถัดไปเป็นภาพสีแดงจางๆกลุ่มที่ 2 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออกใกล้กับภาพกลุ่มที่ 1 แต่อยู่คนละผนังหิน มีภาพคนชดเจน 1 ภาพ เป็นภาพคนผมยาวกำลังวิ่งหรือรำ มองเหลียวหลัง จากเข่าลงไปถึงปลายเท้าขาดหายไป ผนังด้านนี้มีรองรอยของภาพเขียนสีอยู่แต่ลบเลือนไปหมด เห็นเพียงสีแดงเป็นแถบๆกลุ่มที่ 3 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออก เป็นภาพคนกำลังจับสัตว์เลื้อยคาน ลักษณะคล้ายสัตว์กิ้งก่า แย้ หรือตะกวด ห่างจากภาพคนเล็กน้อยมีลายเส้นคดไปมา 3 เส้นกลุ่มที่ 4 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออก เป็นภาพคน 3 คน ไม่มีศีรษะ แสดงท่าทางยืนมีคนนุ่งผ้าคล้ายกระโปรงสั้นเหนือเข่า 2 คนกลุ่มที่ 5 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันตก ภาพคน 3 คน ยืนขนาบภาพสัตว์คล้ายเม่นหรือหมูป่า ใช้เทคนิคเขียนภาพ 2 แบบ คือ แบบโครงร่างภายนอกและแบบเงาทึบ ภาพสัตว์และคนยืนอยู่หน้าสัตว์เขียนแบบโครงร่างภายนอก ส่วนภาพเขียนแบบคล้ายคล้ายเงาทึบเป็นภาพคนอยู่ในท่าทางกำลังวิ่ง นุ่งผ้าปิดหน้าหลัง 1 ภาพกลุ่มที่ 6 ภาพคน 3 คน ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในกลุ่มนี้อยู่ตรงกลาง เป็นภาพคนกางแขน นุ่งผ้าปิดหน้าหลัง แต่ส่วนตั้งแต่เข่าลงไปขาดหายไป สันนิษฐานว่าเป็นท่าร่ายรำ อีก 2 คนภาพขาดหายไป โดยหายไปครึ่งตัว ตั้งแต่หัวถึงกลางตัว 1 ภาพ และจากสะโพกลงไป 1 ภาพกลุ่มที่ 7 เป็นภาพสัตว์ภาพเดียว รูปร่างค้ลายสิงโตหรือเสือ ข้างหน้าสัตว์มีสีแดงเป็นจุดๆ รวม 5 จุด เกิดจากสีบางส่วนขาดหายไปกลุ่มที่ 8 รูปคน 2 คน แสดงท่ารำ มีเพียงครึ่งตัวด้านบน ส่วนล่างขาดหายไปกลุ่มที่ 9 รูปคน 1 คน ยืนยกแขนส่วนปลายแขนกับขาขาดหายไป 1 ข้าง ด้านข้างคนมีลายเส้นวาดยาวตามแนวตั้ง อาจจะเป็นภาพคนที่ลบเลือนไป (?)กลุ่มที่ 10 รูปคน 1 คน ไม่มีศีรษะ อยู่ในลักษณะท่าทางคู้ตัวกลุ่มที่ 11 มีรูป 3 รูป อาจเป็นภาพคนทั้ง 3 รูป แต่ภาพลบเลือนขาดไป กลุ่มที่ 12 เป็นภาพคนครึ่งตัว แขนข้างขวากางออกจากลำตัว แขนซ้ายเยียดตรงขนานกับพื้น
ประติมากรรมแผ่นเงินดุนนูน
แผ่นเงินจำนวนทั้งสิ้น 66 แผ่น ดุนนูนเป็นรูปต่างๆ ได้แก่ พระพุทธรูป สถูป เทวดา และธรรมจักร แต่ละแผ่นไม่ซ้ำแบบกัน