ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง
คำสำคัญ : อโรคยาศาล, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บายน, กุฏิฤาษีเมืองต่ำ, กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง, ปราสาทหนองบัวราย, เมืองต่ำ, บ้านโคกเมือง
ชื่อเรียกอื่น | กุฏิฤาษีเมืองต่ำ |
---|---|
ชื่อหลัก | กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง |
ชื่ออื่น | กุฏิฤาษีเมืองต่ำ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | จรเข้มาก |
อำเภอ | ประโคนชัย |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 14.50125 Long : 102.977958 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 P Hemisphere : N E : 281925.22 N : 1604112.3 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | หันหน้าไปทางทิศตะวันออกและอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทเมืองต่ำ |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง แต่จากแผนผังสถาปัตยกรรมแล้วสันนิษว่าเป็นอโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พุทธศตวรรษที่ 18 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ศิลาแลง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านนอกสุดเป็นกำแพงศิลาแลงมีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระทางทิศตะวันออก ตรงกลางภายในเป็นที่ตั้งของปราสาทประธานก่อด้วยศิลาแลง บางตอนมีหินทรายประกอบกรอบประตู ประตูด้านหน้าทางทิศตะวันออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ประตูอีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานภายในกำแพงแก้วเป็นบรรณาลัยก่อด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกัน บางส่วนของโคปุระและปราสาทประธานมีการประดับด้วยส่วนประกอบของหน้าบันหรือทับหลังเป็นรูปนาค มกรคายนาค สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบศิลปะในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 แต่ทว่าส่วนประดับเหล่านี้ดูไม่สู้จะต่อเนื่องกับปราสาทประธานและกำแพง จึงอาจเป็นการนำของเดิมมาประกอบอาคารที่ก่อสร้างใหม่ อย่างไรก็ตาม หากชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นของที่มีมาแต่เดิม ก็อาจสันนิษฐานว่าเคยมีศาสนสถานแห่งหนึ่งสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 จึงปรับเปลี่ยนใช้เป็นอโรคยศาลในพุทธศาสนามหายาน |
สกุลช่าง | บายน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำอโรคยศาลที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
ข้อสังเกตอื่นๆ | เนื่องจากอยู่ใกล้ปราสาทเมืองต่ำและเพื่อมิให้สับสนกับกุฎิฤาษีหนองบัวรายที่เชิงเขาพนมรุ้ง จึงมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากุฎิฤาษีเมืองต่ำ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธมหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ปราสาทตาเมือนโต๊ด สุรินทร์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-10 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สีวิกา ประกอบสันติสุข. การศึกษาศิลปะเขมรแบบบายนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ : โครงสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542. |