ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาจันทน์งาม
คำสำคัญ : ภาพเขียนสี, ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์, เขาจันทน์งาม, วัดเขาจันทน์งาม, วัดเลิศสวัสดิ์, เขาจันทร์งาม
ชื่อเรียกอื่น | เขาจันทร์งาม |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดเขาจันทน์งาม |
ชื่ออื่น | วัดเลิศสวัสดิ์ |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ที่อยู่ | เลขที่ 99 หมู่ 12 บ้านเลิศสวัสดิ์ |
ตำบล | ลาดบัวขาว |
อำเภอ | สีคิ้ว |
จังหวัด | นครราชสีมา |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 14.814949 Long : 101.594438 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 779243.43 N : 1639476.14 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ด้านหลังทางทิศใต้ของวัดเขาจันทน์งาม |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | สีแดง |
ประวัติการอนุรักษ์ | ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 127 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2533 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ภาพเขียนสีทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-4 เมตร การศึกษาที่ผ่านมาของกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดแบ่งภาพเขียนสีที่พบเป็น 12 กลุ่มตามตำแหน่งที่พบ โดยรวมแล้วมีภาพทั้งหมด 44 ภาพ เป็นภาพคน 32 ภาพ ภาพสัตว์ 5 ภาพ (สุนัข นกหรือไก่ ตะกวด? เม่น? เสือ?) คันธนูและลูกศร 1 ภาพ และไม่ทราบว่าเป็นภาพชนิดใด 5 ภาพ เทคนิคการเขียนภาพมี 2 แบบ คือ ภาพเงาทึบและลายเส้นโครงร่างภายนอก ภาพคนส่วนใหญ่มีส่วนน่องโต มีผ้านุ่ง ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงจะมีหางนกห้อยมาจากกระเบนเหน็บและพู่ประทับบนหัว กลุ่มที่ 1 เป็นภาพชุดที่เด่นและสำคัญที่สุด อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออก เนื้อที่ขนาด 1x2 เมตร เป็นภาพเขียนแบบเงาทึบ ภาพมี 2 แถว (บนและล่าง) ลักษณะเป็นรูปกลุ่มคน 14 คน มีทั้งเพศชายและหญิง วัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งภาพสุนัข 1 ตัว โดยมีรายละเอียดคือ แถวบน เป็นภาพคน 3 คน คนแรกมีเพียงครึ่งซีก ไม่มีหัว คนที่ 2 ยืนกางแขน มีผ้ากางออกมาจากส่วนเอวทั้ง 2 ข้าง ชายผ้ามีแฉกเป็นริ้วๆ เป็นภาพที่เขียนด้านตรง แต่หันหน้าเอียงไปทางขวา คนที่ 3 เขียนให้เห็นด้านข้าง หันหน้าไปทางตรงกันข้ามกับคนที่ 2 ภาพนี้ไม่เต็มรูป ขาดส่วนคอ ลำตัวบางส่วน และต้นขา แถวล่าง เป็นขบวนภาพคนเดินเรียงเป็นแถว ภาพแรกของแถวล่างอยู่ต่ำจากแถวบนประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นภาพคนยืนถือธนูในท่าทางกำลังยิงธนู โดยลูกธนูถูกยิงออกจากคันธนูแล้ว ภาพนี้เป็นภาพเขียนให้เห็นด้านข้าง มีเส้นผมอยู่บนหัว นุ่งผ้าห้อยหน้าหลัง ชายผ้าด้านนอกมีแฉกเป็นริ้วๆ ขาด้านหลังสลับเลื่อนไป ต่อจากภาพนี้เป็นภาพสุนัข หูตั้ง หางดาบ มีอวัยวะเพศบ่งบอกว่าเป็นตัวผู้ ลักษณะตัวผอมยาว ต่ำจากภาพสุนัขลงมาเล็กน้อยเป็นภาพคนนั่งชันเข่า คนที่ 2 เป็นภาพผู้หญิงมีท้องใหญ่ เปลือยอก มีหางคล้ายหางนก ภาพ 2 คนนี้อยู่ในลักษณะที่กำลังเล่นหรือคุยกัน คนหนึ่งเป็นผู้ชาย คนหนึ่งเป็นผู้หญิง ภาพถัดไปเป็นภาพคนยืนเท้าเอว นุ่งผ้า 2 ชิ้นหน้าหลัง แขนขวายกตั้งศอก เป็นภาพเขียนด้านข้าง ห่างจากภาพนี้ไปประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นภาพคนยืนหลังค่อม บนหัวมีเส้นผม นุ่งผ้า 2 ชิ้นหน้าหลัง ชายผ้าด้านหน้ามีแฉกเป็นริ้วๆ มือขวายื่นออกไปถือสิ่งของคล้ายไม้เท้า ข้างหน้าภาพนี้เป็นภาพคนยืนยกแขนทั้ง 2 ข้าง คล้ายอยู่ในท่ารำ ต้นขาด้านหลังขาดหายไป ภาพถัดไปเป็นภาพผู้หญิง เห็นด้านข้างในท่าร่ายรำ ข้างหน้าภาพผู้หญิงเป็นภาพคนยืนยื่นแขนออกไปข้างหน้า มีผ้าปิดหน้า หลังชายผ้ามีรูปกากบาท ภาพถัดไปเป็นภาพเด็ก 2 คน อยู่ในท่ารำ คนหนึ่งยกแขกนทั้ง 2 ข้างขึ้น อีกคนหนึ่งมือซ้ายเท้าเอว มีขวายกขึ้น นุ่งผ้า 2 ชิ้นปิดหน้าหลัง ภาพถัดไปเป็นภาพสีแดงจางๆ กลุ่มที่ 2 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออกใกล้กับภาพกลุ่มที่ 1 แต่อยู่คนละผนังหิน มีภาพคนชดเจน 1 ภาพ เป็นภาพคนผมยาวกำลังวิ่งหรือรำ มองเหลียวหลัง จากเข่าลงไปถึงปลายเท้าขาดหายไป ผนังด้านนี้มีรองรอยของภาพเขียนสีอยู่แต่ลบเลือนไปหมด เห็นเพียงสีแดงเป็นแถบๆ กลุ่มที่ 3 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออก เป็นภาพคนกำลังจับสัตว์เลื้อยคาน ลักษณะคล้ายสัตว์กิ้งก่า แย้ หรือตะกวด ห่างจากภาพคนเล็กน้อยมีลายเส้นคดไปมา 3 เส้น กลุ่มที่ 4 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันออก เป็นภาพคน 3 คน ไม่มีศีรษะ แสดงท่าทางยืนมีคนนุ่งผ้าคล้ายกระโปรงสั้นเหนือเข่า 2 คน กลุ่มที่ 5 อยู่บนผนังหินด้านทิศตะวันตก ภาพคน 3 คน ยืนขนาบภาพสัตว์คล้ายเม่นหรือหมูป่า ใช้เทคนิคเขียนภาพ 2 แบบ คือ แบบโครงร่างภายนอกและแบบเงาทึบ ภาพสัตว์และคนยืนอยู่หน้าสัตว์เขียนแบบโครงร่างภายนอก ส่วนภาพเขียนแบบคล้ายคล้ายเงาทึบเป็นภาพคนอยู่ในท่าทางกำลังวิ่ง นุ่งผ้าปิดหน้าหลัง 1 ภาพ กลุ่มที่ 6 ภาพคน 3 คน ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในกลุ่มนี้อยู่ตรงกลาง เป็นภาพคนกางแขน นุ่งผ้าปิดหน้าหลัง แต่ส่วนตั้งแต่เข่าลงไปขาดหายไป สันนิษฐานว่าเป็นท่าร่ายรำ อีก 2 คนภาพขาดหายไป โดยหายไปครึ่งตัว ตั้งแต่หัวถึงกลางตัว 1 ภาพ และจากสะโพกลงไป 1 ภาพ กลุ่มที่ 7 เป็นภาพสัตว์ภาพเดียว รูปร่างค้ลายสิงโตหรือเสือ ข้างหน้าสัตว์มีสีแดงเป็นจุดๆ รวม 5 จุด เกิดจากสีบางส่วนขาดหายไป กลุ่มที่ 8 รูปคน 2 คน แสดงท่ารำ มีเพียงครึ่งตัวด้านบน ส่วนล่างขาดหายไป กลุ่มที่ 9 รูปคน 1 คน ยืนยกแขนส่วนปลายแขนกับขาขาดหายไป 1 ข้าง ด้านข้างคนมีลายเส้นวาดยาวตามแนวตั้ง อาจจะเป็นภาพคนที่ลบเลือนไป (?) กลุ่มที่ 10 รูปคน 1 คน ไม่มีศีรษะ อยู่ในลักษณะท่าทางคู้ตัว กลุ่มที่ 11 มีรูป 3 รูป อาจเป็นภาพคนทั้ง 3 รูป แต่ภาพลบเลือนขาดไป กลุ่มที่ 12 เป็นภาพคนครึ่งตัว แขนข้างขวากางออกจากลำตัว แขนซ้ายเยียดตรงขนานกับพื้น |
สกุลช่าง | ก่อนประวัติศาสตร์หินใหม่ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ภาพเขียนสีแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ตัวอย่างหนึ่ง สะท้อนเรื่องราวทางพิธีกรรมของผู้คนสมัยกอ่นประวัติศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิตหลายด้าน เช่น การล่าสัตว์ การแต่งกาย |
ข้อสังเกตอื่นๆ | เคารพนับถือหรือบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ภูเขา แม่น้ำ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | หินใหม่, ก่อนประวัติศาสตร์ |
อายุ | 3,000 – 4,000 ปี |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | บูชาธรรมชาติ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-27 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ธราพงศ์ ศรีสุชาติ และจุฑารัตน์ ขุนทอง. ศิลปะถ้ำเขาจันทน์งาม นครราชสีมา. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2532. พเยาว์ เข็มนาค. ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2539. พัฒน์รพี ขันธกาญจน์. ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522. พิบูล ศุภกิจวิเลขการ. การศึกษาภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534. |