ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปราสาทกู่พันนา
คำสำคัญ :
ชื่อเรียกอื่น | ปราสาทบ้านพันนา |
---|---|
ชื่อหลัก | ปราสาทกู่พันนา |
ชื่ออื่น | ปราสาทบ้านพันนา |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พันนา |
อำเภอ | สว่างแดนดิน |
จังหวัด | สกลนคร |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.442589 Long : 103.557364 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 Q Hemisphere : N E : 346792.74 N : 1929095.7 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ปราสาทประธานหลังเดียวกึ่งกลางผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงประวัติการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าเป็นอโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พุทธศตวรรษที่ 18 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่อด้วยศิลาแลง |
ประวัติการอนุรักษ์ | ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และประกาศขอบเขตเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 พื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ประกอบด้วยปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมหนึ่งหลัง ตั้งอยู่กึ่งกลางภายในกำแพงศิลาแลงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เครื่องบนของปราสาทประธานนั้นพังทลายลงไป ส่วนประตูทางเข้าออกนั้นด้านเดียวทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้านทำเป็นประตูหลอก ประตูทางเข้าออกนี้ทำเป็นห้องยาวๆ ด้านหน้าเป็นมุข ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานปรากฏเฉพาะส่วนฐานของบรรณาลัยสร้างด้วยศิลาแลงในผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนกึ่งกลางของกำแพงศิลาแลงด้านทิศตะวันออกนั้นปรากฏซุ้มประตูหรือโคปุระในผังจัตุรัสรูปกากบาท และภายนอกกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีสระน้ำรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา ลัทธิมหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 3. ปราสาทตาเมือนโต๊ด สุรินทร์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-17 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | กนกวลี สุริยะธรรม. รายงานการขุดแต่งศึกษาโบราณสถานกู่พันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. ขอนแก่น : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น, 2542. |