Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว
ภาพนี้เป็นภาพของระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสถาปนิกที่นี่ อันพัฒนาต่อเนื่องมาจากอาคารยาวๆของปราสาทแปรรูป ระเบียงคดซึ่งปรากฏขึ้นใหม่นี้คั่นด้วยโคปุระทั้งสี่ด้าน มุงด้วยอิฐซึ่งถือเป็นความพยายามในการนำเอาวัสดุถาวรแต่มีน้ำหนักมากขึ้นมุงหลังคา ระเบียงคดนี้ยังคงวางอยู่ทีฐานชั้นล่างสุดของปราสาท แตกต่างจากปราสาทในระยะต่อมาที่ระเบียงคดอาจขึ้นไปวางไว้บนยอดฐานเป็นชั้นได้
สถาปัตยกรรมปราสาทพิมานอากาศ
เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นจำนวน 3 ชั้น ด้านบนมีปราสาทเพียงหลังเดียว แต่มีระเบียงคดอยู่โดยรอบที่ด้านบนฐานเป็นชั้น ปราสาทแห่งนี้แสดงให้เห็นพัฒนาการใหม่ที่พยายามนำระเบียงคดไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้น แตกต่างไปจากปราสาทตาแก้วที่ยังคงวางระเบียงคดไว้ด้านล่าง
สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด
ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้
สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายสำเหร่
แม้ว่าไม่ปรากฏจารึกว่าปราสาทแห่งสร้างขึ้นโดยผู้ใด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมแล้ว ปราสาทแห่งนี้อยู่ในสมัยนครวัด ปราสาทสร้างด้วยหินทั้งหลัง และเจาะประตูทั้งสี่ทิศ ตามแบบสมัยพระนครตอนปลาย ยอดวิมานประดับด้วยกลีบขนุน เรือนธาตุมีการเพิ่มมุม ด้านหน้ามีมณฑปตามแผนผังของปราสาทบนพื้นราบ ที่มักให้ความสำคัญกับแกนหลักมากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับความสมมาตร อนึ่ง ปราสาทแห่งนี้มีเค้าโครงด้านสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับปราสาทพิมายในประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นในศิลปะนครวัดเช่นเดียวกัน
สถาปัตยกรรมปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตร ปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตรปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”
สถาปัตยกรรมปราสาทนาคพัน
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขุดบารายชยตฑาคะขึ้นที่ด้านหน้าเมืองราชัยศรี (ปราสาทพระขรรค์) กลางสระนั้นโปรดให้สร้างปราสาทนาคพันขึ้นเพื่อตามคติสระอโนดาต อันเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา