Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมธาตุดำ
เจดีย์ขนาดใหญ่นี้คงเคยเป็นประธานของวัดใดวัดหนึ่งซึ่งไม่หลงเหลือในปัจจุบัน เจดีย์ประกอบไปด้วยบัวถลาแปดเปลี่ยมซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา ถัดขึ้นไปได้แก่บัวเหลี่ยมในผังแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงความเป็นล้านช้างอย่างแท้จริง
สถาปัตยกรรมวิหารวัดองค์ตื้อ
เป็นอาคารในสกุลช่างเวียงจันทน์ที่หลังคาด้านข้างไม่ได้เตี้ยติดพื้นมาก และมีการแบ่งกรอบหน้าบันออกเป็นปีกนก หน้าบันแสดงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายพันธุ์พฤกษา ด้านล่างหน้าบันมีการแบ่งช่องในแผงแรคอสองอันเป็นลักษณะโดดเด่นของหน้าบันในสกุลช่างเวียงจันทน์ และด้านล่างสุดมีโก่งคิ้วซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏร่วมกันทั้งในล้านนาและลาว ด้านหน้ามีโถงทางเข้าก่อนที่จะเข้าไปภายในห้องประธาน ปรากฏหัวเม็ดทรงมัณฑ์ในทรงยืดสูงอันเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะลาว
สถาปัตยกรรมหอพระแก้ว
หอพระแก้ว มีเค้าโครงว่าสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์หรือก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากรูปแบบมีความคล้ายคลึงกับพระอุโบสถของวัดพระศรีรัตนศาสนารามที่ประกอบไปด้วยลานประทักษิณภายในพาไลโดยรอบ อย่างไรก็ตาม หอพระแก้วคงถูกทิ้งร้างตั้งแต่คราวพระเจ้าอนุวงศ์เสียเมืองเวียงจันทน์ และต่อมาได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ หน้าบันซึ่งมีแผงแรคอสองแบ่งช่องอยู่ด้านล่างนั้น สามารถเปรียบเทียบได้กับหน้าบันของวิหารวัดองค์ตื้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสกุลช่างเวียงจันทน์ที่ถูกสลักขึ้นในระยะหลังมากๆ (รัชกาลพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ?) อนึ่ง ตรงช้างสามเศียรเป็นตราประจำพระราชอาณาจักรลาวก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด
สถาปัตยกรรมจันทิเบดังดาลาม
สถาปัตยกรรมของจันทิแห่งนี้ ประกอบด้วยครรภคฤหะและมณฑป ครรภคฤหะมีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว ผนังก่ออิฐ โดยรอบมีร่องรอยของทางประทักษิณที่มีหลุมเสาสำหรับเสียบหลังคาเครื่องไม้ ด้านหน้ามีมณฑปโปร่งซึ่งมีหลุมเสาสำหรับเสียบเสารองรับหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องเช่นเดียวกัน จันทิดังกล่าวแม้จะไม่มีความซับซ้อนนักเมื่อเทียบกับศิลปะชวา แต่ก็สามารถเป็นหลักฐานถึงการเข้าของสถาปัตยกรรมอินเดียและชวาในคาบสมุทรมลายูสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี
สถาปัตยกรรมมัสยิดซาฮีร์
มัสยิดซาฮีร์ เป็นมัสยิดที่ผสมผสานกับระหว่างศิลปกรรมอิสลามหลายสกุล โดยโดมประธานเป็นโดมที่มีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ด้านบนตามแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แต่มีอาร์คที่มีเสากลมเล็กและประกอบด้วยวงโค้งเล็กๆหลายวงตามแบบศิลปะมัวร์ของสเปน การผสมผสานกันระหว่างศิลปะโมกุลและศิลปะมัวร์ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมในศิลปะสมัยอาณานิคมอังกฤษที่พยายามเอาลักษณะเด่นของศิลปะอิสลามในพื้นทีต่างๆมาผสมผสานกัน
สถาปัตยกรรมมัสยิดกปิตันกลิง
มัสยิดกปิตันกลิง เป็นมัสยิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะโมกุลของอินเดียเป็นหลัก ทั้งการจัดวางโดมสามโดมเรียงกัน โดยโดมประธานเป็นโดมที่มีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ด้านบน การใช้แผงด้านหน้า (pishtaq) เป็นรูปอาร์คโค้งในกรอบสี่เหลี่ยม การใช้หอคอยซึ่งมีฉัตรี (Chhatri) ระดับอยู่ด้านบน ทั้งหมดนี้เป็นศิลปะโมกุลที่สถาปนิกอังกฤษได้นำเข้ามาเผยแพร่ในมาเลเซีย เป็นไปได้ที่สถาปนิกผู้ออกแบบมัสยิดพยายามที่จะแสดงความเป็นอินเดียให้มากที่สุดเพื่อให้ตอบรับกับประวัติที่ว่าผู้สร้างมัสยิดคนแรกเป็นชาวอินเดีย