ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 13 รายการ, 2 หน้า
มัสยิดกปิตันกลิง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมมัสยิดกปิตันกลิง

มัสยิดกปิตันกลิง เป็นมัสยิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะโมกุลของอินเดียเป็นหลัก ทั้งการจัดวางโดมสามโดมเรียงกัน โดยโดมประธานเป็นโดมที่มีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ด้านบน การใช้แผงด้านหน้า (pishtaq) เป็นรูปอาร์คโค้งในกรอบสี่เหลี่ยม การใช้หอคอยซึ่งมีฉัตรี (Chhatri) ระดับอยู่ด้านบน ทั้งหมดนี้เป็นศิลปะโมกุลที่สถาปนิกอังกฤษได้นำเข้ามาเผยแพร่ในมาเลเซีย เป็นไปได้ที่สถาปนิกผู้ออกแบบมัสยิดพยายามที่จะแสดงความเป็นอินเดียให้มากที่สุดเพื่อให้ตอบรับกับประวัติที่ว่าผู้สร้างมัสยิดคนแรกเป็นชาวอินเดีย

หอคอยของมัสยิดกปิตันกลิง
จอร์จทาวน์
ประติมากรรมหอคอยของมัสยิดกปิตันกลิง

มัสยิดกปิตันกลิง เป็นมัสยิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะโมกุลของอินเดียเป็นหลัก เป็นไปได้ที่สถาปนิกผู้ออกแบบมัสยิดพยายามที่จะแสดงความเป็นอินเดียให้มากที่สุดเพื่อให้ตอบรับกับประวัติที่ว่าผู้สร้างมัสยิดคนแรกเป็นชาวอินเดียด้วยเหตุนี้ หอคอยซึ่งแสดงอิทธิพลศิลปะโมกุลอย่างชัดเจน เช่น หอคอยทรงแปดเหลี่ยมที่ประกอบด้วยระเบียงหลายชั้น ด้านบนสุดเป็นฉัตรี (Chhatri) ซึ่งหมายถึงอาคารแปดเหลี่ยมที่มีเสาแปดต้นรอบรับโดมขนาดเล็ก

หอคอยของมัสยิดมลายู
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมหอคอยของมัสยิดมลายู

มัสยิดแห่งนี้มีหอคอยที่โดดเด่น ซึ่งมีทรงสอบเข้าแลมีระเบียงด้านบนเพียงระเบียงเดียว ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายประภาคารหรือหอคอยสำหรับการเดินเรือ ประภาคารเป็นวัฒนธรรมแบบอังกฤษที่เข้ามาในมาเลเซียและเป็นแหล่งบันดาลใจให้เกิด “หอคอยมัสยิดแบบประภาคาร” ขึ้นในศิลปะมาเลเซีย นอกจากที่นี่แล้ว มัสยิดกำปงฮูลูที่เมืองมะละกาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน

มัสยิดมลายู
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมมัสยิดมลายู

อาคารมัสยิดมลายู มีลักษณะตามแบบเอเชียอาคเนย์ที่ไม่นิยมสร้างโดมแต่สร้างเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นหลังคาลาดเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี อย่างไรก็ตาม แผงด้านหน้าของอาคารกลับใช้อาร์คแบบมัวร์ของสเปนเข้ามาผสมผสาน โดยเป็นอาร์คแบบวงโค้งเกือกม้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแบบสเปนที่เข้ามาพร้อมกับสถาปนิกชาวอังกฤษในสมัยอาณานิคม

ศาลเจ้าคูกงสี
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมศาลเจ้าคูกงสี

บ้านประจำตระกูลคูแห่งนี้ก็ได้รับการสลักเสลาและมีลวดลายตกแต่งอย่างอลังการ ภายนอกตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆตามความนิยมในศิลปะจีนภาคใต้ ส่วนภายในตกแต่งด้วยไม้สลักซึ่งมีการนำช่างสลักมาจากประเทศจีน ศาลเจ้าของตระกูลซึ่งอยู่ตรงกลาง อุทิศให้กับเทพเจ้าประจำตระกูลรวมถึงบรรพบุรุษ ด้านหน้าศาลเจ้ามีลานกว้างและโรงงิ้ว โดยรอบเป็นบ้านของครองครัวต่างๆในตระกูลรวมถึงที่ประชุมของตระกูล

ลวดลายประดับ : ศาลเจ้าคูกงสี
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมลวดลายประดับ : ศาลเจ้าคูกงสี

บ้านประจำตระกูลคูแห่งนี้ก็ได้รับการสลักเสลาและมีลวดลายตกแต่งอย่างอลังการ ภายนอกตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆตามความนิยมในศิลปะจีนภาคใต้ กระเบื้องเคลือบเหล่านี้ มีทั้งตัดเป็นชินเล็กๆแล้วมาประกอบใหม่ หรือแบบที่ทำสำเร็จรูปมาเพื่อประกอบเป็นอาคารหรือเรื่องราว

โบสถ์เซนต์จอร์จ
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์จอร์จ

ตัวโบสถ์สร้างขึ้นโดยใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบคลาสิก เช่น หน้าบันสามเหลี่ยม เสาดอกริก เป็นต้น โดนมีแผนผังที่วางอย่างสมมาตร รูปแบบของโบสถ์แห่งนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับโบสถ์เซนต์จอร์จที่เมืองเจนไนในประเทศอินเดีย

อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง

อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง เป็นอาคารในสมัยอาณานิคมที่น่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันกลางกลับอยู่ในรูปของหน้าบันบารอคซึ่งน่าสนใจว่าพบอาคารในลักษณะผสมผสานเช่นนี้ หลายหลังในมาเลเซีย เช่น เมืองไตปิง