ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

คำสำคัญ : ศิลปะลาว, หอพระไตรปิฎก, วัดอินแปง

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักวัดอินแปง
ชื่ออื่น-
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองเวียงจันทน์
รัฐ/แขวงเวียงจันทน์
ประเทศลาว
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 17.966667
Long : 102.602222

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมหอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน
สกุลช่างเวียงจันทน์
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุพุทธศตวรรษที่ 22-24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง-
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง-

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี