ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ, 1 หน้า
หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด

หอพระไตรปิฎก
พุกาม
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก

เป็นตัวอย่างอาคารทรงปราสาท (ปยาทาด) ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งศิลปะพม่า เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสทึบ โดยมีหลังคาลาดซ้อนชั้นกันหลายชั้น ทรงค่อนข้างเตี้ย อาคารแบบนี้ต่อมาจะเป็นต้นเค้าให้กับปยาทาดที่ยืดสูงในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล แม้ว่าไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าอาคารหลังนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธาเพื่อเก็บพระไตรปิฎกจริงหรือไม่ แต่จากรูปแบบอาคารแสดงให้เห็นว่าสร่างขึ้นในสมัยพุกามตอนต้นอย่างแน่นอน

หอไตร วัดสีสะเกด
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอไตร วัดสีสะเกด

หอไตรวัดสีสะเกด เป็นหอไตรที่มีหลังคาทรงมณฑป (หลังคาลาดซ้อนชั้นประดับหน้าบันขนาดเล็ก) คล้ายคลึงอย่างมากกับหอไตรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้อนชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้างและกระเบื้องที่ไม่เคลือบสีล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง ภายในเป็นที่ตั้งของตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง