ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หอพระไตรปิฎก
คำสำคัญ : หอพระไตรปิฎก, พุกาม, พระเจ้าอโนรธา
ชื่อหลัก | หอพระไตรปิฎก |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | พุกาม |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.171111 Long : 94.913333 |
ประวัติการสร้าง | พระเจ้าอโนรธาเสด็จยกทัพลงไปตีเมืองสะเทิม เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกเถรวาทขึ้นมาที่เมืองพุกาม เนื่องจากพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์มอญในขณะนั้นไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ หลังจากที่ตีเมืองสะเทิมสำเร็จและได้อัญเชิญพระไตรปิฎกแล้ว พระเจ้าอโนรธาได้สร้างหอพระไตรปิฎกประดิษฐาน |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | เป็นตัวอย่างอาคารทรงปราสาท (ปยาทาด) ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งศิลปะพม่า เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสทึบ โดยมีหลังคาลาดซ้อนชั้นกันหลายชั้น ทรงค่อนข้างเตี้ย อาคารแบบนี้ต่อมาจะเป็นต้นเค้าให้กับปยาทาดที่ยืดสูงในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล แม้ว่าไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าอาคารหลังนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธาเพื่อเก็บพระไตรปิฎกจริงหรือไม่ แต่จากรูปแบบอาคารแสดงให้เห็นว่าสร่างขึ้นในสมัยพุกามตอนต้นอย่างแน่นอน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พุกาม |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |