Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

679

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
พุกาม
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน

ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ปยาทาดหรือปราสาทที่มีหลังคาลาดซ้อนกันหลายชั้นกลับเป็นลักษณะเฉพาะของพุกามเอง ปยาทาดนี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอาคารเครื่องไม้ในสมัยพุกามซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว

พระพุทธบาทบนเพดาน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
พุกาม
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน

ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ

พุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย
พุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย

จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปยี เป็นตัวอย่างของจิตรกรรมในศิลปะพุกามตอนปลายที่มักเขียนภาพบุคคลขนาดใหญ่ พระพักตร์แสดงการ “ก้มลง” อย่างชัดเจน พื้นที่ว่างถูกถมไปด้วย “ลวดลายกนก” จำนวนมาก ทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากศิลปะพุกามตอนต้น อย่างไรก็ตาม ขนบหลายประการ เช่นการเน้นสีโทนร้อน การเขียนต้นไม้แบบประดิษฐ์นั้นก็ยังคงดำเนินตามขนบปาละอยู่

ปยาทาด จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย
พุกาม
จิตรกรรมปยาทาด จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย

จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปยี เป็นตัวอย่างของปยาทาด (ปราสาท) หรือเรือนที่มีหลังคาดซ้อนชั้นในศิลปะพุกามตอนปลายที่อาจสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารเครื่องไม้จริงในศิลปะพุกามที่สูญหายไปหมดสิ้นแล้ว ปราสาทถือเป็นเรือนฐานันดรสูงสำหรับพระพุทธเจ้าหรือกษัตริย์ ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพุกามและยังคงปรากฏสืบทอดมาจนถึงสมัยมัณฑเล

การปราบช้างนาฬาคีรี จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมการปราบช้างนาฬาคีรี จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู

จิตรกรรมแสดงการใช้โทนสีร้อนแบบปาละ คือ เน้นสีแดง เหลือง ดำ ขาว ส่วนรูปแบบของพระพุทธรูปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับจิตรกรรมในใบลานของศิลปะปาละซึ่งคงถูกนำมาที่พุกามและกลายเป็นต้นแบบสำหรับจิตรกรพุกามด้วย อย่างไรก็ตาม การถมลวดลายลงไปในพื้นที่ว่างเปล่านั้นเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพุกามตอนปลาย

ลิงถวายบาตรน้ำผึ้ง จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมลิงถวายบาตรน้ำผึ้ง จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู

จิตรกรรมแสดงการใช้โทนสีร้อนแบบปาละ คือ เน้นสีแดง เหลือง ดำ ขาว ส่วนรูปแบบของพระพุทธรูปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับจิตรกรรมในใบลานของศิลปะปาละซึ่งคงถูกนำมาที่พุกามและกลายเป็นต้นแบบสำหรับจิตรกรพุกามด้วย อย่างไรก็ตาม การถมลวดลายลงไปในพื้นที่ว่างเปล่านั้นเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพุกามตอนปลาย

จิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู

ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ที่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย นอกจากนี้ยังประดับพระโพธิสัตว์กำลังกอดนางตาราอันแสดงแนวโน้มความเป็นมหายานของวัดแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

พระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู

พระโพธิสัตว์ที่เจดีย์ปยาตองสู ทรงเครื่องทรงที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น มงกุฎสามตาบ ผ้านุ่งที่เป็นริ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์แสดงอาการจีบนิ้วและถือ “ช่อกนก” อันแตกต่างไปจากพระโพธิสัตว์ในศิลปะพุกามตอนต้นที่ยังคงถือดอกไม้จามแบบศิลปะปาละ