ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การปราบช้างนาฬาคีรี จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู
คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, พุกาม, นาฬาคีรี, เจดีย์ปยาตองสู
ชื่อหลัก | เจดีย์ปยาตองสู |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ที่อยู่ | มินนันถุ |
จังหวัด/เมือง | พุกาม |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.161944 Long : 94.903333 |
ประวัติการสร้าง | แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเกสารใดๆ แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมทำให้ทราบว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพุกามตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 18 อนึ่ง โบราณสถานในหมู่บ้านมินนันถุเกือบทั้งหมดสร้างข้นในระยะเวลานี้เช่นเดียวกัน |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | จิตรกรรมแสดงการใช้โทนสีร้อนแบบปาละ คือ เน้นสีแดง เหลือง ดำ ขาว ส่วนรูปแบบของพระพุทธรูปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับจิตรกรรมในใบลานของศิลปะปาละซึ่งคงถูกนำมาที่พุกามและกลายเป็นต้นแบบสำหรับจิตรกรพุกามด้วย อย่างไรก็ตาม การถมลวดลายลงไปในพื้นที่ว่างเปล่านั้นเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพุกามตอนปลาย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พุกาม |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | การปราบช้างนาฬาคีรี ถือเป็นหนึ่งในอัษฏมหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงถูกปองร้ายโดยพระเทวทัตเสมอๆ โดยครั้งนี้พระเทวทัตได้ปล่อยช้างดุร้ายเข้าหมายจะสังหารพระพุทธองค์ แต่ช้างบ้ากลับหมอบลงอย่างราบคาบต่อหน้าพระพุทธเจ้า |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | พระพุทธองค์มีขนาดใหญ่ที่สุดอันเป็นการเน้นย้ำความสำคัญตามแบบปาละ พระสาวกสองข้างถือไม้ขัขระและบาตรมีขนาดเล็กลงมา หนึ่งในนี้คือพระอานนท์ผู้พยายามช่วยเหลือพระพุทธเจ้า ที่มีขนาดเล็กที่สุดก็คือช้างนาฬาคีรีซึ่งแสดงเป็นช้างซ้อนกันสองตัว ตัวแรกเป็นช้างบ้า อีกตัวเป็นช้างหมอบ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |