Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมพระราชวังเมืองหลวงพระบาง
พระราชวังเมืองหลวงพระบาง เป็นอาคารแบบตะวันตกในผังแบบพัลลาเดียม มีหน้าบันและลายปูนปั้นแบบตะวันตก สร้างขึ้นภายใต้สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในการสร้างยอดมหาปราสาทตามอิทธิพลรัตนโกสินทร์ซึ่งทำให้อาคารหลังนี้ดูคล้ายกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในกรุงเทพพอสมควร หน้าบันที่เป็นรูปช้างเอราวัณนั้น เป็นตราแผ่นดินในสมัยพระราชอาณาจักรลาว โดยรอบช้างปรากฏนาคด้านละ 7 ตัวซึ่งอาจเชื่อมโยงได้กับชื่อเดิมของอาณาจักรล้านช้างซึ่งเรียกว่า “ศรีสัตนาคนหุต” อันแปลว่านครแห่งนาค 7 ตัว
สถาปัตยกรรมมัสยิดมลายู
อาคารมัสยิดมลายู มีลักษณะตามแบบเอเชียอาคเนย์ที่ไม่นิยมสร้างโดมแต่สร้างเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นหลังคาลาดเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี อย่างไรก็ตาม แผงด้านหน้าของอาคารกลับใช้อาร์คแบบมัวร์ของสเปนเข้ามาผสมผสาน โดยเป็นอาร์คแบบวงโค้งเกือกม้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแบบสเปนที่เข้ามาพร้อมกับสถาปนิกชาวอังกฤษในสมัยอาณานิคม
สถาปัตยกรรมศาลเจ้าคูกงสี
บ้านประจำตระกูลคูแห่งนี้ก็ได้รับการสลักเสลาและมีลวดลายตกแต่งอย่างอลังการ ภายนอกตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆตามความนิยมในศิลปะจีนภาคใต้ ส่วนภายในตกแต่งด้วยไม้สลักซึ่งมีการนำช่างสลักมาจากประเทศจีน ศาลเจ้าของตระกูลซึ่งอยู่ตรงกลาง อุทิศให้กับเทพเจ้าประจำตระกูลรวมถึงบรรพบุรุษ ด้านหน้าศาลเจ้ามีลานกว้างและโรงงิ้ว โดยรอบเป็นบ้านของครองครัวต่างๆในตระกูลรวมถึงที่ประชุมของตระกูล
สถาปัตยกรรมลวดลายประดับ : ศาลเจ้าคูกงสี
บ้านประจำตระกูลคูแห่งนี้ก็ได้รับการสลักเสลาและมีลวดลายตกแต่งอย่างอลังการ ภายนอกตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆตามความนิยมในศิลปะจีนภาคใต้ กระเบื้องเคลือบเหล่านี้ มีทั้งตัดเป็นชินเล็กๆแล้วมาประกอบใหม่ หรือแบบที่ทำสำเร็จรูปมาเพื่อประกอบเป็นอาคารหรือเรื่องราว
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์จอร์จ
ตัวโบสถ์สร้างขึ้นโดยใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบคลาสิก เช่น หน้าบันสามเหลี่ยม เสาดอกริก เป็นต้น โดนมีแผนผังที่วางอย่างสมมาตร รูปแบบของโบสถ์แห่งนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับโบสถ์เซนต์จอร์จที่เมืองเจนไนในประเทศอินเดีย
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง
อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง เป็นอาคารในสมัยอาณานิคมที่น่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันกลางกลับอยู่ในรูปของหน้าบันบารอคซึ่งน่าสนใจว่าพบอาคารในลักษณะผสมผสานเช่นนี้ หลายหลังในมาเลเซีย เช่น เมืองไตปิง
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเมืองปีนัง
หอคอยแห่งนี้สร้างขึ้นโดยปะปนกันระหว่างศิลปะมัวร์ของสเปนกับศิลปะโมกุล ซึ่งถือเป็นลักษณะปกติของศิลปะสมัยอาณานิคมอังกฤษ ด้านล่างอยู่ในผังแปดเหลี่ยมมีลวดลายประดับตามแบบอินเดีย ถัดขึ้นมาเป็นเป็นหอคอยสี่เหลี่ยมมีอาร์คแบบวงโค้งเกือกม้าตามแบบสเปน ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นฉัตรีในผังแปดเหลี่ยมแบบอินเดีย
สถาปัตยกรรมนากอร์ดารการห์
แผนผังของหลุมศพจำลองมีลักษณะเป็นแบบครรภคฤหะ ทางประทักษิณภายในและมณฑปซึ่งแสงการหยิบยืมแผนผังอาคารแบบฮินดูมาใช้ หอคอยปลอมมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งคล้ายคลึงกับ Nagore Dagarh ที่ประเทศอินเดีย อันแสดงให้เห็นการจำลองแบบมา ด้านบนโดมมีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโดมแบบอินเดียเช่นกัน