Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรมหอคอยของมัสยิดกปิตันกลิง
มัสยิดกปิตันกลิง เป็นมัสยิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะโมกุลของอินเดียเป็นหลัก เป็นไปได้ที่สถาปนิกผู้ออกแบบมัสยิดพยายามที่จะแสดงความเป็นอินเดียให้มากที่สุดเพื่อให้ตอบรับกับประวัติที่ว่าผู้สร้างมัสยิดคนแรกเป็นชาวอินเดียด้วยเหตุนี้ หอคอยซึ่งแสดงอิทธิพลศิลปะโมกุลอย่างชัดเจน เช่น หอคอยทรงแปดเหลี่ยมที่ประกอบด้วยระเบียงหลายชั้น ด้านบนสุดเป็นฉัตรี (Chhatri) ซึ่งหมายถึงอาคารแปดเหลี่ยมที่มีเสาแปดต้นรอบรับโดมขนาดเล็ก
สถาปัตยกรรมหอคอยของมัสยิดมลายู
มัสยิดแห่งนี้มีหอคอยที่โดดเด่น ซึ่งมีทรงสอบเข้าแลมีระเบียงด้านบนเพียงระเบียงเดียว ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายประภาคารหรือหอคอยสำหรับการเดินเรือ ประภาคารเป็นวัฒนธรรมแบบอังกฤษที่เข้ามาในมาเลเซียและเป็นแหล่งบันดาลใจให้เกิด “หอคอยมัสยิดแบบประภาคาร” ขึ้นในศิลปะมาเลเซีย นอกจากที่นี่แล้ว มัสยิดกำปงฮูลูที่เมืองมะละกาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานออกุสติน
Façade ของโบสถ์ซานออกุสติน มีองค์ประกอบแบบคลาสิก (Classic) กล่าวคือประกอบด้วย หน้าบันสามเหลี่ยม (Pediment) ที่รองรับด้วยเสาโครินเธียน(ชั้นบน)และไอโอนิก (ชั้นล่าง) อย่างไรก็ตาม ที่หน้าบันสามเหลี่ยมกลับปรากฏหน้าต่างดอกกุหลาบ (Rose window) ซึ่งเป็นองค์ประกอบแบบโกธิค ที่ด้านข้างปรากฏหอระฆังซึ่งเดิมมี 2 หอแต่ปัจจุบันเหลือเพียงหอเดียวเนื่องจากภัยแผ่นดินไหวในศตวรรษที่ 19
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์ซานออกุสติน
ภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา เพดานเป็นวงโค้ง (Tunnel Vault) วาดภาพสถาปัตยกรรมลวงตาบนเพดาน (Trompe l’oeil) จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 ที่ปลายสุดของโบสถ์เป็นแท่นบูชาประดิษฐานเซนต์เจมส์ถือดาบ ซึ่งเป็นนักบุญประจำประเทศสเปน
สถาปัตยกรรมอาสนวิหารแห่งมะนิลา
รูปแบบปัจจุบันของอาสนวิหารแห่งมะนิลา มีแผนผังเป็นรูปกากบาทแบบละติน (Latin Cross) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในศิลปะตะวันตกโดยทั่วไป โดยด้านข้างปรากฏปีก (transept) ส่วนด้านหลังปรากฏผนังวงโค้ง (apse) สำหรับหอคอยซึ่งปัจจุบันตั้งติดกับตัวโบสถ์นั้น จากภาพถ่ายเก่าพบว่า ดั้งเดิมแล้ว หอคอยตั้งอยู่แยกจากตัวโบสถ์ โดมของอาสนวิหารแห่งเมืองมะนิลา เป็นโดมแบบคลาสิกโดยทั่วไป กล่าวคือ มีคอโดม (Drum) เป็นรูปแปดเหลี่ยม มีหน้าต่างคู่สลับกับเสาติดผนัง ส่วนตัวโดมเป็นโดมที่มุงหลังคาด้วยทองแดงและมี Lantern อยู่ด้านบน ซึ่งปรากฏเสมอสำหรับโดมทั้งในศิลปะเรอเนสซองส์และนีโอคลาสิก
สถาปัตยกรรมโบสถ์ไคอาโป
โบสถ์แห่งนี้มีแผงด้านหน้า ตามแบบคลาสิก คือมีหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาโครินเธียน ด้านข้างขนาบด้วยหอคอยแปดเหลี่ยมซึ่งมีองค์ประกอบส่วนมากเป็นแบบคลาสิก อย่างไรก็ดี องค์ประกอบเล็กน้อยยังคงแสดงความเป็นบารอคบ้างเช่น การประดับถ้วยรางวัล กรอบหน้าต่างที่หยักโค้ง การใช้ volute ในการค้ำยันหอคอย เป็นต้น
สถาปัตยกรรมโบสถ์บินอนโด
โบสถ์แห่งนี้มีแผงด้านหน้า ตามแบบคลาสิก คือมีหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาไอโอนิกและโครินเธียน น่าสังเกตว่าโบสถ์ส่วนมากในเมืองมะนิลามักมีแผงด้านหน้าแบบคลาสิกเกือบทุกแห่ง หอระฆังของโบสถ์บินอนโด สร้างขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 และไม่ได้ถูกทำลายจากสงคราม มีลักษณะเป็นหอระฆังแปดเหลี่ยมที่ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นลดหลั่น โดยแต่ละชั้นประดับด้วยเสาติดผนังและซุ้ม ด้านบนสุดปรากฏโดมและ Lantern รูปแบบของหอระฆังนี้ทำให้นึกถึงเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน
สถาปัตยกรรมมัสยิดสุลต่าน
อิทธิพลแบบอินเดียและมัวร์ที่ปรากฏในมัสยิดแห่งนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับมัสยิดหลายหลังในมาเลเซียซึ่งสร้างขึ้นโดยสถาปนิกชาวอังกฤษเช่นเดียวกัน ลักษณะแบบอินเดียนั้น ได้แก่ลักษณะของโดมซึ่งมีคอทรงกระบอก และการมีกลีบดอกไม้ประดับไปด้านบนโม รวมถึงระเบียบการประดับฉัตรีไว้ที่ด้านบนหอคอย อย่างไรก็ตาม อาร์ควงโค้งหลายวงต่อเนื่องกันที่ปรากฏในส่วนกลางของมัสยิด กลับแสดงให้เห็นอิทธิพลแบบสเปน