Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

682

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล
มะนิลา
ประติมากรรมแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล

ภูเขาคาร์แมลเป็นภเขาทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ และเคยเป้นที่อยู่ของประกาศกเอลียาห์มาก่อน ต่อมาสถานที่แห่งนี้ได้ถูกสร้างให้เป็นที่สวดภาวนาต่อพระนางมาเรีย และทำให้เกิดพระสงฆ์นิกายคาร์เมไลท์ขึ้นใน ค.ศ. 1251 พระนางได้เสด็จมาประจักษ์แก่นักบุญไซมอน สต๊อก อธิการของคณะคาร์เมไลท์ ขณะที่ท่านพำนักใน Aylesford ระเทศอังกฤษ พระนางได้ประทานสายจำพวก อันเป้นเครื่องแบบนักบวชให้กับนักบุญและสัญญาว่าผู้ใดสวมชุดนี้จะรอดพ้นจากไฟนรก

พระศพของพระเยซู
มะนิลา
ประติมากรรมพระศพของพระเยซู

พระศพของพระเยซู ใช้ในพิธีกรรม “วันพระตาย” ก่อนที่พระจะฟื้นคืนชีพอีกในวันอีสเตอร์ พระศพจำลองมักเป็นหุ่นไม้ที่สามารถใช้ตรึงกับไม้กางเขนได้ และสามารถนำมาใส่หีบพระศพได้ด้วย โดยหีบพระศพที่นี่ มีการตกแต่งด้วยลูกแกะที่ถือธงแห่งชัยชนะ ลูกแกะนั้นแสดงถึงการยอมพลีชีพของพระองค์เองเพื่อไถ่บาปมนุษย์ประหนึ่งลูกแกะบูชายัญ ส่วนธงแห่งชัยชนะนั้นแสดงถึงการฟื้นคืนชีพของพระองค์

แม่พระฟาติมา
มะนิลา
ประติมากรรมแม่พระฟาติมา

รูปแม่พระฟาติมาองค์นี้ ตั้งอยู่บนรถซึ่งใช้สำหรับการแห่ น่าเชื่อว่าในวันสำคัญของคริสตศาสนาน่าจะมีพิธีแห่ประติมากรรมเหล่านี้ออกไปตามถนน

พระนางมาเรียมหาทุกข์
มะนิลา
ประติมากรรมพระนางมาเรียมหาทุกข์

ในช่วงชีวิต พระนางมีเรียต้องมีมหาทุกข์ถึงเจ็ดประการซึ่งทิ่มแทงหัวใจของพระนางประหนึ่งดาบ ทุกข์ทั้งเจ็ดของพระนางคือ1.ทุกข์เมื่อได้ยินคำพยากรณ์ของท่านซีเอโมนว่า กุมาร (พระเยซู) เกิดมาเพื่อความพินาศและความรอดของชาวอิสราเอลจำนวนมาก 2.ทุกข์เมื่อต้องพาพระกุมารหนีไปอียิปต์3.พระกุมารเยซูหายไปในพระวิหาร4.พระนางเห็นพระเยซูกำลังถูกทหารทรมานขณะเดินไปเพื่อถูกประหาร5.พระนางเห็นพระเยซูถูกรึงกาเขน6.พระมารดารับศพพระเยซูลงจากกางเขน7.พระมารดาทรงฝังศพพระเยซู

เซนต์เจมส์ย่ำยีพวกมัวร์
มะนิลา
ประติมากรรมเซนต์เจมส์ย่ำยีพวกมัวร์

ป้อมซานติอาโก้ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองอินทรามูรอส เดิมเป็นที่ตั้งป้อมของสุลต่านสุไลมาน ต่อมา ใน ค.ศ.1571 ชาวสเปนสถาปนาเมืองมะนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของฟิลิปปินส์ และสร้างป้อมซานติอาโกขึ้น ป้อมนี้เดิมมีกำแพงสร้างขึ้นด้วยไม้ ต่อมา ในศตวรรษที่ 18 มีกรสร้างประตูของป้อมอุทิศให้กับเซนต์เจมส์ นักบุญผู้อุปถัมภ์ประเทศสเปน ต่อมาประตูแห่งนี้ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปลายศตวรรษที่ 20

ปิเอต้า
มะนิลา
ประติมากรรมปิเอต้า

ในช่วงชีวิต พระนางมีเรียต้องมีมหาทุกข์ถึงเจ็ดประการซึ่งทิ่มแทงหัวใจของพระนางประหนึ่งดาบ โดยหนึ่งในทุกข์ทั้งเจ็ดของพระนางนั้น ก็คือเมื่อพระมารดารับศพพระเยซูลงจากกางเขน ในทางประติมานวิทยา จะเรียกการรับพระศพลงจากไม้กางเขนแล้วพระนางมาเรียร้องไห้คร่ำครวญว่า “ปิเอต้า” แปลว่า “น่าสงสาร”

ซานโตนีโญ่
มะนิลา
ประติมากรรมซานโตนีโญ่

ในประติมานวิทยาทาคริสต์ศาสนา พระเยซูกุมารสามารถแสดงพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งสวรรค์ได้ โดยพระองค์มักทรงมงกุฎกษัตริย์ มีผ้าคลุมกษัตริย์ พระหัตถ์หนึ่งทรงคทาอีกพระหัตถ์หนึ่งถือลูกโลกซึ่งทั้งสองเป็นเครื่องราชูปโภคแบบยุโรป พระเยซูกุมารที่แสดงตนเป็นกษัตริย์นั้นเรียกเป็นภาษาสเปนว่า Santo Nino

พระตรีเอกภาพ
วีกัน
ประติมากรรมพระตรีเอกภาพ

พระตรีเอกภาพ หมายถึง พระเป็นเจ้าหนึ่งเดียวแต่มีสามพระบุคคล และทรงดำรงอยู่พร้อมกันตั้งแต่ก่อนกาลเวลา ประกอบด้วยพระบิดา พระบุตรและพระจิต ความเชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพเกิดจากการวิเคราะห์บริบทต่างๆในพระคัมภีร์และการสังคายนาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในสมัยโบราณมักมีข้อห้ามการสร้างรูปพระบิดา รูปพระตรีเอกภาพส่วนมากจึงถูกสร้างขึ้นในสมัยใหม่